ประวัติ.....
พระครูนิกรธรรมรักษ์
ติสฺสโร นามเดิม ไซร้ ทิพยาวงษ์ เป็นบุตรคนที่
5 ของขุนนิกรรักษา กับนางแท่น ทิพยาวงษ์
วัน
เดือน ปีเกิด วันที่ 11
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น
6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ที่บ้านหนองเหี้ย
ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 7 คน หลวงพ่อไซร้ในสมัยหนุ่มหน้าตาดี
มีสง่าราศี รูปร่างสูงโปร่ง ผิวขาวสะอาด
อัธยาศัยดี สงบเสงี่ยม กิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย
มีเมตตาธรรมต่อผู้อื่นเสมอ
ก่อนอุปสมบทได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดอยู่กับหลวงพ่อฮวบ
เจ้าอาวาสวัดสามัคคยาราม และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย
และภาษาขอมจาก หลวงพ่อฮวบ
จนมีความรู้แตกฉาน และยังมีความชำนาญนำไปใช้ในการศึกษาธรรมะได้เป็นอย่างดี
ต่อมาได้ออกจากวัดหาดงิ้ว
กลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพทำนาทำไร่อยู่ได้ระยะหนึ่ง
จนกระทั่งอายุได้
16 ปี ด้วยนิสัยใฝ่เรียนรู้ด้านธรรมะ และมีความรักความศรัทธาเลื่อมใสในสมณเพศ
จึงได้ขอบรรพชาเป็น
สามเณรกับ พระอธิการก้อน
เจ้าอาวาสวัดช่องลม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม
พ.ศ. 2452
การบรรพชาอุปสมบท
หลังจากบวชเป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบ 20
ปี จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ณ พัทธสีมาวัดช่ิองลม
ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 มี พระอธิการขีด
วัดกุมภีร์ทอง
ต.บ้านด่าน เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการจ้อน
เป็นกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการป้อม
เป็นอนุสาวนาจารย์
บำเพ็ญสมณะธรรม.....
หลังจากอุปสมบทแล้ว
หลวงพ่อไซร้ตั้งใจบำเพ็ญสมณะธรรมเอาใจใส่กิจวัตร
เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง
ไม่ยอมละทิ้งการงานของพระภิกษุและสามเณร
ซึ่งในพระพุทธศาสนามีอยู่ 2 อย่างคือ 1.คันถะธุระ
การศึกษาพระธรรมวินัย
อันเป็นส่วนปริยัติ
2.วิปัสสนาธุระ การเรียนพระกัมมัฎฐาน ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนา
อันเป็นสายปฏิบัติและปฏิเวช ซึ่งท่าน
สนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเหตุให้เจริญทางด้านจิตใจ
ท่านได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ที่วัดกุมภีร์ทองเป็นเวลา
4 พรรษา
หลังจากนั้นจึงได้ย้ายไปจำพรรษาต่อที่วัดดอยแก้ว
ต.แสนตอ อ.เมือง และที่วัดหาดงิ้ว ได้ศึกษาวิทยาคุณไสยศาสตร์กับ
หลวงพ่อฮวบ ที่วัดหาดงิ้ว
จนมีความรู้อย่างแตกฉาน
จึงได้ย้ายไปอยู่วัดช่องลมในเวลาต่อมา ซึ่งพระครูวิเชียรปัญญามหา
มุนี(เรือง) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์
เจ้าอาวาสวัดท่าถนนในสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าหลวงพ่อไซร้
เป็นที่เคารพนับถือของ
บรรพชิตและคฤหัสถ์
จึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462
สืบต่อมา
การทำนุบำรุงศาสนา....
ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม
ท่านได้เอาใจใส่ในการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์
เสนาสนะ วางระเบียบแผนผังของวัดที่ท่านพำนักจนเป็นที่เรียบร้อย
ดังปรากฏหลัฐานมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น หอไตร
กุฏิเจ้าอาวาส อุโบสถ
หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
กำแพงรอบวัด โรงเรียน
ปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาลวัดช่องลม
การก่อสร้าง และการปฏิสังขรณ์ดังกล่าว รวมทั้งอุโบสถของวัดหาดงิ้ว
ศาลาการเปรียญวัดสามัคคยาราม
และอุโบสถของวัดดอยท่าเสา เป็นต้น
วัตถุมงคลของหลวงพ่อไซร้.....
เงินทุนที่ท่านได้มาใช้จ่ายในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นี้
ส่วนใหญ่เกิดมาจากการจำหน่ายวัตถุมงคลของท่าน
เช่น เหรียญ รูปเหมือน
แหวนรูปท่าน ตะกรุด ฯลฯ ให้กับประชาชนเช่าบูชา
เงินที่ชาวบ้านบริจาคทำบุญก็มีแต่เป็นส่วนน้อย
วัตถุมงคลของท่านที่ทำขึ้นเองก็ดีหรือมีผู้อื่นนำมาถวายให้ท่านปลุกเสกให้ก็ดี
ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีอาุนุภาพศักดิ์สิทธิ์
เป็นที่ปรากฏต่อลูกศิษย์และชาวบ้านทั่วไป
แม้แต่คนที่นับถือศาสนาอื่นๆยังแขวนพระเครื่องและตะกรุดของหลวงพ่อไซร้
ติดตัวตลอด
เพราะท่านเป็นพระที่มีสมาธิจิตสงบนิ่งมั่นคงมากในเวลาปลุกเสก
ประกอบกับผู้รับไปบูชามีจิตใจเชื่อมั่นเคารพ
นับถือในวิทยาคุณของท่านด้วย
หลวงพ่อไซร้หรือพระครูนิกรธรรมรักษ์
ท่านมีเมตตาธรรมเป็นอุปปัญญาประจำใจไม่เลือกชั้นวรรณะใครมี
ธุระก็ติดต่อได้ทุกเวลา
อัธยาศัยกว้างขวางเคารพในการปฏิสันถาร วาจาอ่อนน้อมน่าบูชายิ่งนัก
ใครจะขอให้ปลุกเสกเลข
ยันต์ทำน้ำมนต์ ท่านทำให้ทุกอย่าง
จนหาเวลาว่างของตนเองไม่ได้แม้แต่ยามอาพาธท่านยังยอมเสียสละเวลาและชีวิต
เพื่อผู้อื่นโดยถือคติธรรมตามรอยพระพุทธองค์ว่า
ผู้เสียสละ คือ ผู้ชนะแล้ว หมายถึง
การเอาชนะใจตนเองถือเป็นการ
ชนะเลิศเพราะว่าไม่มีทางกลับมาแพ้ได้อีกต่อไป
หลวงพ่อไซร้
มรณภาพเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2507 สิริอายุรวม
71 ปี พรรษา 51 ปี
ภาพถ่ายโรงบรรจุศพของหลวงพ่อไซร้ขณะตั้งบำเพ็ญกุศล
|