ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513




 

               การสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักนี้ เป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธีที่ยิ่งใหญ่รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษ
เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกมากมายเป็นร้อยๆท่าน และมีประสบการณ์ดี
อาทิเช่น
ทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ทุกคนได้ออก
ปฎิบัติการปราบปราม ผกค.ที่ สมรภูมิ ทุ่งช้าง จ.น่าน สมรภูมิ ยุทธการเชียงของ เชียงคำ จ.เชียงราย สมรภูมิยุทธการภูหิน
ร่องกล้า จ.พิษณุโลก และสมรภูมิยุทธการเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นฐานและกองบัญชาการใหญ่ของ ผ.ก.ค. ทางภาคเหนือ
ได้มีการปะทะและถูกลอบโจมตีของกองกำลัง ผ.ก.ค. ต่างก็มีประสบการณ์เช่น บ้างก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิดไม่ทำงานบ้าง
บ้างก็ถูกกระสุนปึน ค. ซึ่งเป็นกระสุนระเบิดไม่แตกบ้าง แตกแต่ไม่เข้าบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง รอดพ้นภยันตรายปลอดภัย
ทุกคน และเป็นช่วงเดียวกับ สงครามเวียดนามและลาว ในสมัยจอมพลถนอม กิติขจร ได้ส่งหน่วยกองกำลังทหารไทยทุกภาค
ฃึ่งทหารไทยมีบทบาทสำคัญที่สุดในศึกสงครามเวียดนามและลาว เพราะภูมิประเทศของประเทศเวียดนามและลาวเป็น
ป่าเขาเหมือนกับประเทศไทย กองกำลังเวียดนามเหนือหรือเวียดกงจะกลัวกองกำลังทหารไทยมากที่สุด เพราะทหารไทย
ชินกับสมรภูมิภูมิประเทศแบบนี้ที่เหมือนกันนี้อยู่แล้ว ซึ่งมีทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ไปร่วมรบ
ด้วยกับหน่วยรบขององค์การสหประชาชาติ อันมีอเมริกาเป็นตัวหลักสนับสนุนทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์
เพื่อป้องกันประเทศเวียดนามใต้ ให้รอดพ้นจากลัทธิคอมมิวนิสต์ของประเทศเวียดนามเหนืออันมีรัสเซียเป็นตัวหลักสนับสนุน
ทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่นกัน หน่วยกองกำลังทหารจากทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหาร
บกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ได้ออก ปฏิบัติการยุทธการ ที่ สมรภูมิเวียดนามและสมรภูมิลาว ได้มีประ
สบการณ์ ในการปะทะกับกองกำลังทหารเวียดนามเหนือ หรือเวียดกง และถูกลอบโจมตีจากกองกำลังเวียดกง บ้างก็ถูกระเบิด
เคโมไม่ระเบิดบ้าง ก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิด และ จรวด ด้านไม่ทำงานบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง หลายครั้งหลายคราวรอด
ปลอดภัยกลับมาที่แผ่นดินเกิดกันทุกคน และไม่ว่าประสบการณ์ท้องถิ่น คือถูกยิงไม่ออกบ้าง ถูกยิงไม่เข้าบ้าง และ บ้างก็รอด
ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางการจราจร และรอดปลอดภัย อุบัติเหตุต่างๆ บ้างมากมายทีเดียว
            เหรียญนี้เป็นที่หวงแหนของคนจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง ภาคเหนือตอนล่าง กันมากทีเดียว เพราะมีประ
สบการณ์เป็นที่ประจักษ์นับครั้งไม่ถ้วน และอนุสาวรีย์ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งที่ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
และศาลท่านพ่อที่อยู่ที่อำเภอพิชัยก็ทรงความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังยิ่งนักใครเดือนร้อนมีทุกข์ต่างๆ ต่างก็ได้จุดธูปเทียนบนบาน
ศาลกล่าวต่อหน้าอนุสาวรีย์ ให้ท่านช่วยให้พ้นความเดือนร้อน และ พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ต่างก็ได้รับความสมหวังกัน
ทั่วหน้า และได้มาแก้บนตามที่ตนบนบานไว้ ส่วนมากก็จะแก้บนด้วย อาหารคาวหวาน สุรา การชกมวย ฟันดาบ และตีไก่
ต่อหน้าอนุสาวรีย์ มีพ่อแม่ของเด็กหนุ่มที่เตรียมจะเกณฑ์ทหาร ได้จุดธูปเทียนบนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหาร แต่เป็นที่น่า
อัศจรรย์มากก็คือ ใครก็ตามที่ได้บนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหารนั้น ลูกชายของเขาเหล่านั้นทุกคนต้องจับใบแดงได้เป็นทหาร
กันทุกคน คงจะเป็นเพราะท่านเป็นทหาร ท่านชอบทหาร ท่านเลยดลบันดาลให้ลูกชายของเขาเหล่านั้นเป็นทหารรับใช้ชาติ
กันซะเลย

               เหรียญพระยาพิชัยดาบหักนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้

ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินและของทางหน่วยงานราชการ

มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้า

หาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้น

เชิงแม้ไม้มวยไทย ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง

คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ

รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยกระทั่งถึงทุกวันนี้

               อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบัน

จริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบ

หลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ

และเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3


(
ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้นป็นรองประธาน พร้อมด้วยที่ปรึกษา

อันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมกันดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์

กระทรวงการคลัง โดยจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก

พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์

ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย

ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดี จากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

1.สมเด็จ พระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)
4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อ.เมือง อุตรดิตถ์
5.หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส อ.ลับแล อุตรดิตถ์
6.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อ.ด่านลานหอย สุโขทัย
7.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )
8.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
9.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
10.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
11.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์ (เนื่องจากท่านอายุมากแล้วท่านไม่ได้มานั่งปรกในพิธี แต่มี ชนวนแผ่นยันต์ ของท่าน)
12.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา
13.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
14.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
15.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
16.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
17.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
18.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
19.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
20.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
21.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
22.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
23.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
24.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ
25.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
26.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
27.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
28.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
29.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
30.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
31.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
32.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
33.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
34.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
35.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพ
36.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
37.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
38.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
39.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
40.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
41.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
42.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
43.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
44.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
45.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
46.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
47.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ((ไม่ได้มานั่งปรกในพิธี แต่มี ชนวนแผ่นยันต์ ของท่าน และอธิษฐานส่งจิตมา )
48.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
49.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
50.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี
60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา
63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
73.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
74.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี
75.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
76.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
77.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.
78.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
79.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
80.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
81.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.
82.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
83.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข
84.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
85.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
86.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
87.หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา
88.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง
89.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล นครศรีธรรมราช
90.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
91.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
92.หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
93.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจณบุรี
94.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจณบุรี
95.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา กำแพงเพชร(ท่านดังเรื่องตะกรุด)
96.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
97.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์
98.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์
99.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท
100.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
101.หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ พัทลุง
104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง
106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก
107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก
108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก
109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน
110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี
113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา
114.หลวงพ่อผาย วัดอรัญญิการาม อ.เมือง อุตรดิตถ์
115.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี


       
          
และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้

ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้  มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบ

จากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดพร้อมที่

ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก

กับบวงสรวงสักการะเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น.

สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำ

พระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาว

และไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้

ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง        

                เมื่อถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเศก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธี

มหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ

จำนวนสองชุดๆละ 8 รูป จนตลอดรุ่งเช้า จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย หลังจากนั้นทาง

คณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหักในงานประจำปีที่ กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อให้ผู้มา

เที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบรุษผู้กล้าหาญของชาติท่านหนึ่ง นั่นคือ “ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “

ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงทางเพลงดาบ และท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราช

ท่านจะเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช

คู่พระทัยในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู

มาได้จนเป็นประเทศไทยถึงทุกวันนี้
                  ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่
ออกแบบเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก

ในชุด แม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจาก

อนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎ

ตัวหนังสือไทยว่า พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์

ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและตัวนะต่าง ๆ กับมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ ด้านล่างเหรียญ

ในการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ครั้งแรกนี้ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างได้เตรียมการสร้างอย่างดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้สมกับเป็น

เหรียญยอดวีรบุรุษนักรบผู้เก่งกล้า ทั้งแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงเพลงดาบ ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราช และรวบรวมชาติไทย

โดยคณะกรรมการได้ส่งแผ่นโลหะทองคำ เงิน และทองแดง ไปอาราธนาให้คณาจารย์ผู้ทรง คุณวุติแก่กล้าทางวิทยาคมทุกท่านทั่ว

ประเทศที่ได้ลงรายนามที่ทุกท่าน ช่วยลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาหลอมเป็นชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ยังมีการรวบรวมเอาตะกรุด

และชนวนวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ อีกเป็นจำนวนมากผสมเพิ่มเติมอีกด้วย มารีดเป็นแผ่นโลหะพร้อมที่จะนำไปปั้มเป็นเหรียญ

โดยแบ่งเหรียญโลหะออกเป็นสามชนิดคือ ทองคำ เงิน และทองแดง

เรียกว่าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี 2513 นี้ ดีทั้งในคือชนวนมวลสารดี และดีทั้งนอกคือเจตนาการสร้างดี พิธีดี คณาจารย์พุทธาภิเศก

ดีเลยทีเดียว มีจำนวนการสร้างเหรียญดังนี้

1.
เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึงพ.ศ.2513

ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท )

2.
เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น)

3.
เนื้อทองแดงสร้างจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น)

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ๒๕๑๓ แบ่งออกเป็น 2 บล๊อกพิมพ์ คือ บ.ขาด และ บ.เต็ม(เส้นขีดด้านล่างของ บ.) คือ บ.ของคำว่า

“ดาบ” ส่วนด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ตรงไหล่ซ้ายจะมีจุดไข่ปลา 1 จุด และยันต์ต่างๆ ด้านหลังเหรียญ จะเหมือนกันหมด

จะแตกต่างกันที่บ.ขาด และบ.เต็ม เท่านั้น และบล๊อกแม่พิมพ์ทั้ง 2 บล๊อกได้ถูกเจียรทำลายไปทั้งหมด..................

(
ขอขอบคุณ คุณแรมโบ้ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล)