ร้านพุทธานุภาพ พระเครื่อง 
กลับหน้าหลักเว็ปพระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์
 หน้าร้านค้าพุทธานุภาพ พระเครื่อง  
ชื่อพระเครื่อง : ล็อกเก็ตเปิดโลกคู่ หลวงปู่ทวด + หลวงปู่ดู่ พิธีเปิดโลก วัดสะแก หลัง ผงมหาจักรพรรดิ์ + เส้นเกษาหลวงปู
ประเภทพระเครื่อง : 16.หลวงปู่ทวด ทั่วไป
ราคา : โชว์เพื่อการศึกษาครับ
สถานะ :
เปิดให้เช่าวันที่ : 12 ก.ค. 56 - 19:29:59
เบอร์โทรติดต่อ : 081-931-0080
รายละเอียดพระเครื่อง : ล็อกเก็ตเปิดโลกคู่ หลวงปู่ทวด + หลวงปู่ดู่ พิธีเปิดโลก วัดสะแก หลัง ผงมหาจักรพรรดิ์ + เส้นเกษาหลวงปู่ดู่ สร้างโดยห้างทองแม่ทองใบ เลี่ยมทองเดิมๆ ล็อกเก็ตเปิดโลกคู่ หายาก สุด ๆ โชว์อย่างเดียว เพื่อการศึกษา ครับ มีเงินก็ใช่ว่าจะซื้อหาเข้ามาได้ง่ายๆ ถ้าท่านใดมีแบบนี้ เสนอราคามาได้ และ โทรมาได้เลยครับ คัดลอกจาก : หนังสือกายสิทธิ์ เป็นส่วนใหญ่ คณะของคุณวรวิทย์ ด่านชัยวิจิตร มีศรัทธาสร้างรูปของหลวงปู่ แต่ท่านให้สร้างเป็นรูปของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืดแทน ในวันพิธีเสกวัตถุมงคล หลวงปู่ทวด ฝนตกลงมาอย่างหนัก ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจ เพราะเมื่อไปถึงวัด ผู้คนวันนั้นมีมากเกินกว่าที่คิดไว้ ของที่นำมาปลุกเสก ทั้งจากผู้สร้างและผู้นำมาเข้าร่วมพิธี สูงจนท่วมตัวหลวงปู่ ทุกคนที่มาในพิธีอาจจะคิดไม่ถึงก็ได้ว่า นี่เป็นวาระสุดท้ายที่หลวงปู่จะโปรดพวกลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งหลวงปู่ได้เป็นผู้กำหนดวันพิธีไว้ล่วงหน้าคือ วันอังคารที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๒ วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ประกอบด้วย ๑.เหรียญทองคำ ๒๔๐ เหรียญ ๒.เหรียญเงิน ๑,๐๓๖ เหรียญ ๓.เหรียญทองแดง ๑๐,๕๐๐ เหรียญ ๔.พระผง ๕,๐๐๐ องค์ (ในจำนวนนี้มีพระผงที่ฝังพระธาตุเอาไว้ด้วย จำนวน ๓๖๐ องค์) ๕.ตะกั่วผสมพลวง ๑,๐๐๐ เหรียญ ๖.โปสเตอร์รูปหลวงปู่ดู่ ๑๐,๐๐๐ แผ่น ๗.ลูกแก้วสารพัดนึก ๕,๐๐๐ ลูก นอกจากนี้ยังมี ล็อกเกต รูปไข่และรูปสีเหลี่ยม รูปคู่หลวงปู่ทวด และหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวดเดี่ยว หลวงปู่ดู่เดี่ยว มีรูปอมยิ้มและธรรมดา ด้านหลังบรรจุผงมหาจักรพรรดิ์และเกศาของหลวงปู่ดู่ ที่สร้างโดย ร้านทองแม่ทองใบ เพื่อแจกลูกค้าของร้าน ประมาณ1,000 อัน เหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ปี 2532 มีเนื้อ ทองคำ เงิน ตะกั่ว และทองแดง จำนวนไม่ระบุ ปลุกเศกที่วัดพนัญเชิง ก่อนที่จะนำมามาปลุกเศกพิธีเปิดโลกอีกที สำหรับเหรียญทองคำ เงิน และทองแดง ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับเหรียญหลวงพ่อหวล ภูริทัตโต วัดพุทไธศวรรย์ ในวาระอายุครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๒.... ในพิธีพุทธาภิเษกนี้ นอกจากหลวงพ่อหวล เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชแล้ว ยังได้กราบอาราธนาพระผู้ทรงวิทยาคุณองค์อื่นๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ หลวงพ่อทิม วัดพระขาว หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา และอาจารย์แม้น วัดหน้าต่างนอก นอกจากนี้ก็ยังมีศิษย์ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ พระอาจารย์สุทิน วัดสะแก ศิษย์ของหลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อมหาวีระ วัดท่าซุง ฯลฯ วัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คณะของคุณวรวิทย์ได้แจกจ่ายให้กับศิษย์ที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องเสียเงินใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นเหรียญชนิดเงินและทอง ซึ่งคิดเท่ากับต้นทุนตามที่มีผู้สั่งจอง ปัจจุบันวัตถุมงคลดังกล่าว ยังมีเหลืออยู่บ้างในจำนวนไม่มากนัก ซึ่งต้องแล้วแต่กาลเวลา เพราะต้องดูโอกาสที่ควรจะเปิด ท่านที่อยากได้ก็จงอธิษฐาน ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา นึกถึงหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ถ้าวาสนาของท่านดี คงมีโอกาสได้รับวัตถุมงคลรุ่นนี้ ที่เรียกกันว่า "รุ่นเปิดสามโลก" หรือที่เซียนพระเรียกว่า "รุ่นดัง" นั่นเอง มีเพื่อนของลูกศิษย์ผู้เขียนเคยนำหนังสือ พระผู้จุดประทีปในดวงใจ ซึ่งพิมพ์ครั้งพระราชทานเพลิงศพของพ่อผู้เขียน ไปถวายเพื่อนของเขาซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อเขาเห็นหนังสือ เขาได้บอกว่า "เพิ่งจะรู้ว่าหลวงพ่อดู่ที่หลวงพ่อเกษมกล่าวถึงคือองค์นี้เอง" จึงได้เกิดการซักถามกันขึ้น พระจึงเล่าให้ฟังว่า เคยไปนมัสการหลวงพ่อเกษม กับโยมมารดาของท่าน ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช มารดาได้พาไปนมัสการหลวงพ่อเกษม เพื่อจะขอบารมีให้ลูกชายบวช หลวงพ่อเกษมท่านนั่งหลับตานิ่งอยู่ ได้เอ่ยถามมารดาของท่านว่า "รู้จักหลวงพ่อดู่ วัดสะแกไหม" ซึ่งมารดาเรียนตอบท่านว่า ไม่เคยรู้จัก หลวงพ่อเกษมท่านจึงพูดต่ออีกว่า "เคยได้ยิน เหรียญเปิดโลกไหม" เธอก็ตอบอีกว่า "ไม่เคยได้ยิน" หลวงพ่อเกษมจึงพูดขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า "ให้ไปหามาบูชา เหรียญนี้ดี กันนิวเคลียร์ได้" พระองค์นี้ก็ได้แต่สงสัยว่า หลวงพ่อดู่อยู่ที่ไหน และจะหาเหรียญได้ที่ใด เป็นเวลาเกือบปี จึงเกิดความกระจ่างจากหนังสือที่ได้รับ มีหลายคนทีเดียวที่กล่าวอ้างถึงชนวนวัตถุมงคลรุ่นเปิดโลก วันนี้ก็เลยถือโอกาสเปิดเผยข้อมูลที่ยังไม่เคยเปิดเผย แม้กับคนใกล้ตัว เพราะเหตุว่าไม่เห็นความจำเป็น แต่มาตอนนี้ สังเกตว่ามีหลายท่านสนใจเชิงลึกกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวัตถุมงคล จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ในตอนสร้างวัตถุมงคลรุ่นเปิดโลกนั้น (ซึ่งตอนนั้นก็มิได้ตั้งชื่อรุ่นแต่อย่างใด เป็นแต่เรียกกันเองว่าเหรียญหลวงปู่ทวด ขอบลายกนก) คณะผู้จัดทำ ตระเวนขอเนื้อชนวนโลหะ ที่หลวงปู่เคย อธิษฐานไว้ให้กับลูกศิษย์อาวุโสหลายท่าน สุดท้ายก็รวบรวมได้ประมาณ 1 กล่อง (กล่องเบียร์สิงห์) ซึ่งก็ถือว่ามากพอควร จากนั้น ก็นำมาไปให้กับช่างแกะพระ (ช่างอ๊อด) ความจริงได้ถูกเปิดเผยภายหลังเหรียญจัดทำเสร็จ โดยช่างอ๊อดสารภาพว่าลืมนำเนื้อชนวนไปผสมทำเหรียญ พอนานวันไป ช่าง ก็ยังหาไม่พบเนื้อชนวนดังกล่าว สุดท้ายก็ไม่ได้เนื้อชนวนคืน จนบัดนี้ นี่คือเนื้อชนวนชั้นที่หนึ่งที่ไม่ได้นำมาผสม ส่วนเนื้อชนวนชั้นที่สอง คือเนื้อโลหะที่เหลือจากการปั๊มเหรียญเปิดโลกนั้น ก็ไม่มี เพราะไม่ได้ขอ (คณะผู้จัดทำมิได้มีเจตนาจะสร้างพระรุ่นใดต่ออีก) แต่อย่างไรก็ดี ทางช่างก็มอบเศษขอบเหรียญที่เหลือจากการปั๊มมานิดหน่อย ซึ่งภายหลังก็ได้นำไปผสมสร้างเหรียญรุ่นรวมใจไปจนหมด สรุปก็คือ ก่อนสร้างเหรียญเปิดโลก ก็ไม่ได้ใช้เนื้อชนวน ภายหลังสร้างก็ไม่ได้เก็บเนื้อชนวน เรื่องก็เป็นอย่างนี้ แต่ถามว่าทางคณะผู้จัดทำรู้สึกไม่มั่นใจในพุทธคุณของเหรียญนี้หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่มีนัยสำคัญแต่อย่างใดเลย เพราะคณะศิษย์ผู้สร้างมั่นใจในคุณธรรมของหลวงปู่ และมั่นใจในเจตนาการอธิษฐานพระของหลวงปู่ เนื่องจากครั้งนั้น หลวงปู่เป็นผู้กำหนดฤกษ์เอง ทั้งที่หลวงปู่ประกาศ งดการอธิษฐานพระให้กับวัด หรือคณะใด ๆ ก่อนหน้านี้แล้ว ประกอบกับหลวงปู่ดู่ท่านก็เคยยืนยันมาว่า หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ท่านมีบารมีเต็มแล้ว วัดไหนสร้างก็ศักดิ์สิทธิ์หมด เพราะบารมีหลวงปู่ทวดท่านเต็มท้องฟ้า แล้วนี่ เป็นเหรียญหลวงปู่ทวดที่หลวงปู่ดู่เสก ทำไมจะต้องคำนึงถึงเนื้อชนวนให้มากด้วยเล่า เข้าทำนองว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้ สาระสำคัญมิได้อยู่ที่เนื้อชนวนอย่างเดียวหรอก หากแต่อยู่ที่การอธิษฐานจิต ของเกจิอาจารย์ ผู้อธิษฐานจิต ปลุกเสก และจิตศรัทธาอันยึดมั่นของผู้ใช้บูชาเป็นสำคัญ ย้อนระลึกได้เพิ่มเติมว่าในช่วงที่กำลังติดตามดูความคืบหน้าของการสร้างเหรียญหลวงพ่อทวด (เปิดโลก) อยู่นั้น ทางช่างอ๊อดก็จะปั๊มเหรียญออกมาให้ดูเป็นระยะ ๆ เพื่อดูความคมชัดของการแกะ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ของหลวงปู่ดู่ ผู้ที่มีจิตสัมผัสในทางนี้เดินทางไป ดูการปั้มเหรียญรุ่นนี้ ด้วย พอเขาเอาเหรียญลองปั๊ม มากำดูก็แปลกใจว่าทำไมจึงมีพลังแรง ประกอบกับเห็นมีเทวดารักษาองค์พระ ทั้ง ๆ ที่เหรียญนี้ยังไม่ได้ยังไม่ได้เข้าพิธี ซึ่ง แต่ก่อน หลวงปู่ดู่ ท่าน เคยบอกกล่าวกับศิษย์ หลายๆครั้ง ว่าเฉพาะรูปถ่ายพระอริยเจ้า ผู้ทรงอภิญญาเท่านั้น ที่ไม่จำเป็นต้องปลุกเสก ก็ล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสิ้น ส่วนเหรียญปั๊ม หรือ รูปหล่อ ต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องผ่านพิ ธีปลุก เสก เป็นอย่างยิ่ง (ซึ่งถ้าไม่ผ่านการปลุกเสกไม่อย่างนั้น ซึ่งก็ไม่แตกต่าง จาก ตุ๊กตุ่น ตุ๊กตา ของ เด็กเล่น เท่านั้นเอง ท่านได้พูดกับศิษย์ไว้เช่นนี้) นั่นก็แสดงให้เห็น ได้อย่างชัดเจน อย่างแท้จริงอย่าง ที่หลวงปู่ดู่ท่านได้เคยพูดกับศิษย์ แล้วอย่างแท้จริง ตัวอย่าง เช่น รูปถ่ายหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร ที่ติดประกาศงาน วัด หรือ ที่ป้าย สส.โฆษณา หาเสียง ที่มีรูปหลวงพ่อเงิน ที่พิจิตร ติดอยู่ ทำไมขี้เมาจึงใช้ปืน .38 ลูกโม่ 6 นัด ยิง รูปหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร ที่ติดประกาศ ทั้งๆที่ที่ยังไม่ผ่านการปลุกเสกเลย ไม่ออกแม้แต่นัดเดียว แต่พอยกปืนยิงขึ้นฟ้าออกทั้ง 6 นัด ซึ่งเป็นข่าวใหญ่โต เมื่อหลายปี ก่อน ที่ จังหวัดพิจิตร พอคณะศิษย์ได้นำเรื่องนี้ ที่เหรียญหลวงปู่ทวด ที่ยังไม่ผ่านการ ยังมีพลัง ไปกราบเรียนหลวงปู่ จึงได้ทราบว่าหลวงปู่ท่านได้ อธิษฐานให้ตลอดกระบวนการผลิต ในการปั้มเหรียญ นั่นหมายความว่าฤกษ์ที่หลวงปู่กำหนดนั้น เป็นเพียงนำวัตถุมงคลทั้งหมด (ที่หลวงปู่ได้ปลุกเสกให้ก่อนแล้ว) มาปลุกเสกต่อยอดในพิธี อีกที ทำให้ศิษย์หายสงสัยว่า ทำไมท่านจึงไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเสกนาน ๆ เหมือน กับพระเครื่องบางรุ่น จากลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงปู่ดู่ ประวัติ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ประวัติ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ชาติภูมิ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง นามสกุล หนูศรี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 3 คน ตัวท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อหลวงพ่อถือกำเนิดได้ไม่นาน มารดาของท่านก็เสียชีวิต และเมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดาของหลวงพ่อก็เสียชีวิตอีก ทำให้หลวงพ่อกำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ ท่านจึงได้อาศัยอยู่กับยาย และ พี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อท่านถึงวัยที่ต้องศึกษา ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศธรรมประวัติ ตามลำดับ เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นทารกมีเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้เชื่อว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามาเกิด คือในช่วงหน้าน้ำหลาก คืนหนึ่งขณะที่บิดาและมารดากำลังทำขนมอยู่นั้น มารดาท่านได้วางตัวท่านไว้บนเบาะนอกชานบ้าน แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปน้ำ แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ตัวท่านกลับไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ มาเห็นเข้าจึงเห่าและวิ่งกลับไปกลับมา มารดาท่านจึงสงลัยว่าคงจะมีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงได้ตามสุนัขออกมาดู ก็พบท่านลอยน้ำอยู่ติดกับข้างรั้ว อุปสมบท เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ อุโบสถวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า “ พรหมปัญโญ ” ศึกษาธรรม ในพรรษาแรกๆ นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัด ประดู่ทรงธรรม (ในสมัยนั้นเรียกว่าวัด ประดู่โรงธรรม) โดยศึกษากับ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ ศึกษา กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ผู้เป้นพระอุปัชฌาย์ และ หลวงพ่อเภา ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น และ มีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงพ่อกลั่นก็ได้มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษากับหลวงพ่อเภาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก พระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯเมื่อพ.ศ. 2486 ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกเดินธุดงค์ จากวัดสะแก มุ่งหน้า สู่ป่าเขาแถบจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างทาง ก็แวะนมัสการสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา นิมิตธรรม ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง“ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา เมตตาธรรม หลวงปู่ดู่ ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงพ่อมีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หลวงปู่ทวด ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ สร้างพระ หลวงพ่อดู่ ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ” ปัจฉิมวาร นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาสุขภาพหลวงพ่อเริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป ประมาณปลายปี พ.ศ.2532 หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ดู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงพ่อยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงพ่อก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของ วันพุธที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2533 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 8 เดือน 65 พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไปจึงขอยกธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่สอนให้ศิษย์ เข้าถึงธรรมด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นที่ตนเองดังนี้ “ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเองก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้าแต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้วเมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ” บทความที่คัดลอกมานี้ ได้เน้นถึงความพิเศษของพิธีปลุกเสก ไม่ได้มีความมุ่งหมายในการจำแนกพิมพ์หรือวิธีการดูพระเครื่อง ดังนั้นภาพพระเครื่องที่ประกอบนั้นอาจไม่ได้เป็นพระตามมาตรฐานการซื้อขายกัน เนื่องจากเหรียญเปิดโลก หลวงปู่ดู่นั้นมีของฝีมือระดับปาดคอเซียน ดังนั้นผมขอออกตัวก่อนว่าภาพประกอบในบล็อกนี้ อาจจะหลงหูหลงตาผมไปได้ และผมเองก็ไม่มีเหรียญนี้ในมือเลยและไม่มีความชำนาญใดๆในการดูและบอกว่าเก๊แท้ คณะของคุณวรวิทย์ ด่านชัยวิจิตร มีศรัทธาสร้างรูปของหลวงปู่ แต่ท่านให้สร้างเป็นรูปของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืดแทน โดยให้ออกแบบตามรูปถ่ายที่หลวงปู่ลอยในอากาศ ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้เขียนได้สรุปมาจากคุณชนะ ศรีชฎา ขณะท่านทำงานเป็นผู้จัดการเขต ธนาคารกรุงไทย จังหวัดภูเก็ต โดยท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาของรูปนี้ว่า ได้มาจากพระอาจารย์ชัย ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอาจารย์ได้มีโอกาสไปร่วมในพิธีที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการบวงสรวงและอธิษฐานจิตของคณาจารย์หลายองค์ โดยมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานที่วัดพระบรมธาตุ เมืองนครฯ เพื่อต้องการรูปของหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ไว้เคารพสักการะ และนำไปเป็นแบบในการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง เมื่อทำพิธีบวงสรวงเรียบร้อยแล้ว จึงใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายขึ้นไปบนท้องฟ้า และได้เกิดปรากฎการณ์พิเศษเหนือธรรมชาติ เพราะมีรูปพระองค์แก่ๆ เกิดขึ้น หลังจากได้นำฟิล์มมาล้าง พระอาจารย์จำเนียร แห่งวัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่ ได้เข้าสมาธิถาม ได้รับคำตอบว่า ท่านคือ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด นั่นเอง จึงได้มีการสร้างและออกแบบโดยให้เพิ่มเติมลูกแก้วไว้บนมือ และให้หลวงปู่นั่งบนดอกบัว เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ทั้งของวัดช้างไห้และวัดพะโคะ เนื่องจากลูกแก้วคู่บารมีหลวงปู่ยังคงต้องเก็บรักษาไว้ที่วัดพะโคะ จังหวัดสงขลา ส่วนการนั่งบนดอกบัวนั้น มีแรงบันดาลใจจากคุณอนันต์ คหบดี จังหวัดปัตตานี ที่เห็นหลวงปู่นั่งบนดอกบัว ในคราวที่ท่านจัดสร้างเพื่อถวายอาจารย์ทิม แห่งวัดช้างไห้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ และวัดพะโคะ คือองค์เดียวกัน สำหรับการนั่งบนดอกบัวนั้น เป็นนิมิตที่ท่านแสดงถึงความปรารถนาพุทธภูมิ และบารมีเต็มเรียบร้อย มิใช่การบังอาจที่แสดงถึงการไม่เคารพพระพุทธเจ้า เพราะมีการวิจารณ์ว่า พระสงฆ์ไม่ควรนั่งบนดอกบัว แต่ในเรื่องนามธรรม ความลึกลับแล้ว เป็นการแสดงถึงบารมีของการปรารถนา ที่ท่านเมตตาแสดงไว้ให้แก่ผู้ที่เคารพศรัทธา สำหรับจำนวนของวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ประกอบด้วย ๑.เหรียญทองคำ ๒๔๐ เหรียญ ๒.เหรียญเงิน ๑,๐๓๖ เหรียญ ๓.เหรียญทองแดง ๑๐,๕๐๐ เหรียญ ๔.พระผง ๕,๐๐๐ องค์ (ในจำนวนนี้มีพระผงที่ฝังพระธาตุเอาไว้ด้วย จำนวน ๓๖๐ องค์) ๕.ตะกั่วผสมพลวง ๑,๐๐๐ เหรียญ ๖.โปสเตอร์รูปหลวงปู่ดู่ ๑๐,๐๐๐ แผ่น ๗.ลูกแก้วสารพัดนึก ๕,๐๐๐ ลูก 8.ล็อกเก็ต เปิดโลก เดี่ยว สี่เหลี่ยม วงรี และ วงรี รูปคู่ มีน้อยมาก หลังป้าย ผงมหาจักรพรรดิ์ +เส้นเกษาหลวงปู่ดู่ สร้างถวาย โดย ร้านทองแม่ทองใบ มีทั้งเลี่ยมทองมาแต่เดิม และ ล็อกเก็ตเปลือย ๑,๐๐๐ อัน สำหรับเหรียญทองคำ เงิน และทองแดง ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับเหรียญหลวงพ่อหวล ภูริทัตโต วัดพุทไธศวรรย์ ในวาระอายุครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๒…. ในพิธีพุทธาภิเษกนี้ นอกจากหลวงพ่อหวล เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชแล้ว ยังได้กราบอาราธนาพระผู้ทรงวิทยาคุณองค์อื่นๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ หลวงพ่อทิม วัดพระขาว หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา และอาจารย์แม้น วัดหน้าต่างนอก นอกจากนี้ก็ยังมีศิษย์ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ พระอาจารย์สุทิน วัดสะแก ศิษย์ของหลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อมหาวีระ วัดท่าซุง ฯลฯ หลวงพ่อหวล ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของผู้เขียน ได้ให้ผู้เขียนกราบนิมนต์หลวงปู่ดู่ ซึ่งท่านรับจะร่วมอธิษฐานจิตตั้งแต่ ๑๘.๐๐ นาฬิกาของวันพิธี หลวงพ่อหวลได้เล่าให้ฟังว่า ขณะที่กำลังจุดเทียนที่ขันน้ำสาครและราวเทียนอยู่นั้น ท่านเห็นพระองค์หนึ่งมายืนข้างๆ ซึ่งท่านไม่รู้จัก ในแวบหนึ่งท่านฉุกคิดถึงหลวงปู่ดู่ เมื่อผู้เขียนนำภาพหลวงปู่ดู่ไปถวาย ท่านจึงบอกว่า “ฉันไม่ได้เพี้ยนแน่ เพราะคือองค์นี้เองที่เห็น” เมื่อผู้เขียนนำเรื่องราวไปเล่าให้หลวงปู่ดู่ฟัง ท่านตอบว่า “เดี๋ยวจะหาว่าฉันโกหก ใครตาดีก็ดูกันเอาเอง” ในวันพิธีเสกวัตถุมงคล หลวงปู่ทวด ผนตกลงมาอย่างหนัก ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจ เพราะเมื่อไปถึงวัด ผู้คนวันนั้นมีมากเกินกว่าที่คิดไว้ ของที่นำมาปลุกเสก ทั้งจากผู้สร้างและผู้นำมาเข้าร่วมพิธี สูงจนท่วมตัวหลวงปู่ ทุกคนที่มาในพิธีอาจจะคิดไม่ถึงก็ได้ว่า นี่เป็นวาระสุดท้ายที่หลวงปู่จะโปรดพวกลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งหลวงปู่ได้เป็นผู้กำหนดวันพิธีไว้ล่วงหน้าคือ วันอังคารที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๒ ก่อนจะเริ่มพิธีเมื่อกล่าวนำบูชาพระรัตนตรัย และขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยแล้ว ผู้เขียนได้กล่าวอาราธนาหลวงปู่ว่า “ขออาราธนาพระเดชพระคุณหลวงปู่ได้โปรดเมตตาอธิษฐานจิต ปลุกเสกรูปเหมือนหลวงปู่ทวด และวัตถุมงคลในพิธีที่คณะลูกศิษย์ได้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องระลึกถึงพระไตรสรณคมน์และการนำไปปฏิบัติธรรมของเหล่าคณะศิษย์ของวัดสะแก ซึ่งมีหลวงปู่ทวดเป็นประธาน สืบต่อไป” หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ได้ให้ผู้เขียนกล่าว ชุมนุมเทวดา เพื่อให้มาโมทนาและร่วมในพิธี ต่อไปนี้เป็นคำพูดของหลวงปู่ ที่กล่าวไว้เสมือนกับเป็นอมตะวาจา ที่ทิ้งไว้ให้ระลึกถึง เพื่อให้ลุกศิษย์เกิดศรัทธาปสาทะ มีกำลังใจที่จะสร้างคุณงามความดี จนในที่สุดกลายเป็น อจลศรัทธา สามารถพึ่งตนเองได้ วาจาของหลวงปู่มีดังนี้ “ตั้งใจกันทุกคน ภาวนาไตรสรณคมน์ นิมนต์ท่านด้วยทั้ง ๔ องค์” (ในวันนั้นมีพระสงฆ์อยู่ด้วย ๔ รูป) หลวงปู่ “เชิญพระมาทั้งหมดแสนโกฏจักรวาฬ เทวดาด้วย ขอให้ท่านมาช่วยกัน หลวงพ่อทวดมาหรือยัง” ผู้เขียน “มาแล้วครับ” หลวงปู่ “หลวงพ่อเกษม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ที่แปลพระไตรปิฎกฉบับลังกา หลวงพ่อบุดดามาแล้วใช่ไหม” ผู้เขียน “ครับ” หลวงปู่ “ตั้งจิตยกของทั้งหมดตามหลวงพ่อทวด ไปพุทธาภิเษกที่วิมานแก้วพระพุทธเจ้า ขอให้พระพุทธเจ้ารับ ท่านรับแล้วหรือยัง” ผู้เขียน “ครับ รับแล้ว” หลวงปู่ยกมือขวา ลูบพระทั้งหมดที่อยู่เบื้องหน้าท่าน ๒-๓ ครั้งอย่างช้าๆ หลวงปู่ “ตั้งจิตไว้ไปวิมานพระธรรม วิมานพระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ขอให้ท่านช่วยเสร็จแล้วใช่ไหม ตอนนี้สว่างไปหมด พรหมโลก เทวโลก มนุษโลก ดูพุทธนิมิตของหลวงพ่อทวดเต็มท้องฟ้าไปหมด ตั้งจิตนำของทั้งหมดไปนมัสการพระพุทธเจ้าที่ดอยสุเทพ ที่ดอยสุเทพมีพระธาตุพระพุทธเจ้าอยู่ ขอพระพุทธเจ้าให้ท่านประสิทธิ ดูซิของทั้งหมดสว่างหมดหรือยัง” ผู้เขียน “สว่างหมดแล้ว” หลวงปู่ “ยกของทั้งหมดมาที่วัดสะแก อย่าเพิ่งลง ทำทักษิณาวัตรรอบภูเขาบุญกว้าง ๑ เส้น สูง ๑ เส้นก่อน ๓ รอบ ตอนนี้หลวงพ่อทวดอยู่ที่ไหน ลอยอยู่ในอากาศเห็นหรือยัง อัญเชิญพุทธนิมิตหลวงพ่อทวดมาปฏิสนธิสถิตในของทั้งหมด ดูซิของทั้งหมดสว่างไสวไปหมด แสงแตกกระจายออกไปเหมือนไฟพะเนียงแตก ขอหลวงพ่อทวดคุ้มครองรักษา ฝากเทวดาช่วยปกป้องรักษาของทั้งหมดนี้ตลอดไป ปิดอันตรายทุกอย่าง ของสว่างใช้ได้แล้วหรือยัง ตั้งใจให้ดี อุทิศกุศลไปให้โดยรอบสุดขอบจักรวาฬ อนันตจักรวาฬ ฉันจะให้พรแทน” หลวงปู่ให้พรและกรวดน้ำแทนคณะศิษย์ทั้งหลาย เนื่องจากในวันนั้นเสียงหลวงปู่เบามาก จึงได้ยินกันไม่ค่อยทั่วถึง หลังจาดพิธีเสร็จแล้วในวันต่อมา ได้กราบเรียถามหลวงปู่ ท่านบอกว่า “เกือบจะปลุกเสกไม่ได้ เนื่องจากมีคนจัดยาให้ท่านฉันผิด จึงทำให้ท้องเสีย ถ่ายท้องหลายครั้ง แต่เมื่อถึงพิธีกลับทำได้” นับว่าหลวงปู่มีขันติธรรมอย่างยิ่ง และเป็นความเมตตาอนุเคราะห์แก่คณะศิษย์อย่างมาก “เวลาที่เริ่มต้นอธิษฐานจิตปลุกเสกประมาณ 2 ทุ่มเศษ ใช้เวลาปลุกเสกนาน 20 กว่านาทีเท่านั้น ได้เรียนถามท่านว่าทำไมใช้เวลาน้อยนัก ท่านว่าเพียงมาต่อยอด เพราะได้เตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าแล้วระหว่างพิธี ศิษย์ที่มีสัมผัสดี ๆ บอกว่า เกิดรู้สึกแปลก ๆ ในสถานที่ปลุกเสก (วัดสะแก) ผู้มีสมาธิพบว่า มีพุทธนิมิตเป็นรูปหลวงปู่ทวดองค์เล็กองค์ใหญ่เต็มเกลื่อนท้องฟ้าเหนือวัด สะแก” อาจารย์ศุภรัตน์กล่าว…(อ้างอิงข้อเขียนของอาจารย์อำพล เจนในศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 303….ในเวปของอาจารย์อำพล เจน) วัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คณะของคุณวรวิทย์ได้แจกจ่ายให้กับศิษย์ที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องเสียเงินใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นเหรียญชนิดเงินและทอง ซึ่งคิดเท่ากับต้นทุนตามที่มีผู้สั่งจอง เนื่องจากมีผู้ได้รับแจกมาก จึงทำให้บางคนที่ไม่รู้จักคุณค่านำไปแลกเปลี่ยนจำหน่ายในสนามพระ ปัจจุบันวัตถุมงคลดังกล่าว ยังมีเหลืออยู่บ้างในจำนวนไม่มากนัก ซึ่งต้องแล้วแต่กาลเวลา เพราะต้องดูโอกาสที่ควรจะเปิด ท่านที่อยากได้ก็จงอธิษฐาน ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา นึกถึงหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ถ้าวาสนาของท่านดี คงมีโอกาสได้รับวัตถุมงคลรุ่นนี้ ที่เรียกกันว่า “รุ่นเปิดสามโลก” หรือที่เซียนพระเรียกว่า “รุ่นดัง” นั่นเอง มีเพื่อนของลูกศิษย์ผู้เขียนเคยนำหนังสือ พระผู้จุดประทีปในดวงใจ ซึ่งพิมพ์ครั้งพระราชทานเพลิงศพของพ่อผู้เขียน ไปถวายเพื่อนของเขาซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อเขาเห็นหนังสือ เขาได้บอกว่า “เพิ่งจะรู้ว่าหลวงพ่อดู่ที่หลวงพ่อเกษมกล่าวถึงคือองค์นี้เอง” จึงได้เกิดการซักถามกันขึ้น พระจึงเล่าให้ฟังว่า เคยไปนมัสการหลวงพ่อเกษม กับโยมมารดาของท่าน ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช มารดาได้พาไปนมัสการหลวงพ่อเกษม เพื่อจะขอบารมีให้ลูกชายบวช หลวงพ่อเกษมท่านนั่งหลับตานิ่งอยู่ ได้เอ่ยถามมารดาของท่านว่า “รู้จักหลวงพ่อดู่ วัดสะแกไหม” ซึ่งมารดาเรียนตอบท่านว่า ไม่เคยรู้จัก หลวงพ่อเกษมท่านจึงพูดต่ออีกว่า “เคยได้ยิน เหรียญเปิดโลกไหม” เธอก็ตอบอีกว่า “ไม่เคยได้ยิน” หลวงพ่อเกษมจึงพูดขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า “ให้ไปหามาบูชา เหรียญนี้ดี กันนิวเคลียร์ได้” พระองค์นี้ก็ได้แต่สงสัยว่า หลวงพ่อดู่อยู่ที่ไหน และจะหาเหรียญได้ที่ใด เป็นเวลาเกือบปี จึงเกิดความกระจ่างจากหนังสือที่ได้รับ แสดงว่าหลวงพ่อเกษมท่านใช้ อนาคตังสญาณ คือ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอนาคต ที่ท่านและมารดาของท่าน จะต้องมาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่อย่างแน่นอน คัดลอกบทความมาจากเวปพลังจิต ข้อมูลเพิ่มเติมจากเวปพลังจิต….จากข้อมูลคุณalovesab2002 ตอนที่ ๑๑๑ ที่มาของวัตถุมงคลรุ่น “เปิดโลก“ (คัดจากบางส่วนของหนังสือ “ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” ฉบับปรับปรุงจาก ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ฯ) จากการที่มีผู้สนใจวัตถุมงคลรุ่น “เปิดโลก” เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกที ประกอบกับพบว่าข้อมูลบางอย่างที่ปรากฏตามหนังสือ อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นๆ มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง และบางเรื่องก็เป็นความคลาดเคลื่อนที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการโน้มน้าวผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกไปในทางอภินิหาร จนมองข้ามเจตนารมณ์ที่แท้จริงในการสร้างพระ อธิษฐานพระของหลวงปู่ดู่ ด้วยเหตุนี้ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ประสานงานดำเนินการจัดสร้างพระรุ่นนี้ จึงขออนุญาตให้ข้อมูล เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้ทราบที่มาและวัตถุประสงค์ รวมทั้งรายละเอียดของการจัดสร้างพระรุ่นนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ๑. ที่มาและวัตถุประสงค์ของการสร้าง จุดเริ่มของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ เริ่มเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยข้าพเจ้าได้รับการติดต่อจาก คุณวรวิทย์ ด่านชัยวิจิตร ให้เป็นธุระในการประสานงานการจัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ดู่เพื่อเอาไว้แจกให้กับผู้ศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจปฏิบัติกรรมฐาน เพราะพิจารณาเห็นว่าพระเครื่องพระบูชาชองหลวงปู่ดู่ มีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการและหายากมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับหลวงปู่ท่านก็มีอายุมากแล้ว กล่าวคือ อายุท่านนั้นย่างเข้าปีที่ ๘๗ แล้ว ทั้งนี้ คุณวรวิทย์และคณะได้นำเรื่องนี้ไปกราบเรียนขออนุญาตจากหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาอนุญาตทั้งที่ท่านได้งดอธิษฐานจิตวัตถุมงคลมาเป็นระยะเวลากว่า ๑ ปีแล้ว ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ อย่างไรก็ดี สำหรับวัตถุมงคลรุ่นนี้ หลวงปู่ท่านกำหนดวันประกอบพิธีอธิษฐานจิตในวันที่ท่านเรียกว่า “วันธงชัย” ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๒ ทุ่ม ส่วนกำหนดเวลา ๒ ทุ่ม นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะท่านไม่ต้องการให้ไปรบกวนเวลาที่ญาติโยมมาทำบุญหรือสนทนาธรรมกับท่านในช่วงระหว่างวัน รวมทั้งอาจไม่ต้อการให้ดูเอิกเกริก ๒. การออกแบบเหรียญ เดิมทีพวกเราเจตนาจะจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงปู่ดู่ แต่ท่านกลับแนะนำว่าควรสร้างรูปเคารพครูบาอาจารย์คือหลวงปู่ทวดดีกว่า นอกจากนี้ ท่านยังเน้นด้วยว่า ต้องมีข้อความ “หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด” อยู่บนเหรียญด้วย นี้คือกรอบรูปแบบในเบื้องต้นที่ข้าพเจ้าได้รับ ข้าพเจ้าเองแม้จะเคยมีประสบการณ์ในการจัดทำหนังสือธรรมะของหลวงปู่ แต่ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการสร้างพระใด ๆ มาก่อนเลย แต่ด้วยเกรงใจในคุณวรวิทย์ จึงตกปากรับคำในการติดต่อหาช่างแกะพระ รวมทั้งการประสานงานดำเนินการจัดสร้างเหรียญให้แล้วเสร็จ เพราะข้าพเจ้าอยู่ทางกรุงเทพฯ จึงน่าจะคล่องตัวกว่าคุณวรวิทย์ซึ่งอยู่ทางอยุธยาฯ ในเรื่องช่างแกะพระนั้น มีผู้แนะนำข้าพเจ้าให้รู้จักกับช่างอ๊อด (คุณประหยัด ลออพันธ์สกุล) ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าเห็นผลงานในอดีตของช่างผู้นี้แล้วก็รู้สึกพึงพอใจ จึงตกลงให้ดำเนินการแม้ว่าจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับช่างรายอื่น ๆ ด้วยคิดว่าโอกาสในการสร้างพระถวายหลวงปู่นั้นไม่ได้มีง่าย ๆ จึงอยากให้เหรียญออกมาสวยงามและแลดูเหมือนมีชีวิต สำหรับรูปที่ใช้เป็นต้นแบบหลวงปู่ทวดนั้น ข้าพเจ้าได้อาศัยเค้าโครงจากรูปหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ทวดที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เพราะให้รายละเอียดที่ชัดเจน สะดวกสำหรับช่างแกะพระ และจากรูปแบบหน้าตาหลวงปู่ทวดที่ลงตัวแล้ว ข้าพเจ้าและคณะจึงได้ค่อย ๆ เริ่มออกแบบเพิ่มเติมรายละเอียดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้ • ฐานบัว บ่งบอกเอกลักษณ์ขององค์หลวงปู่ทวด ในความเป็นพระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว • ลูกแก้วบนฝ่ามือหลวงปู่ทวด สร้างตามอย่างความนิยมของวัดพะโคะ จังหวัดสงขลาและสื่อถึงลูกแก้วสารพัดนึก • อักขระ “พุท ธะ สัง มิ” ที่ด้านหน้า หมายถึงหัวใจพระไตรสรณคมณ์ คือ “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ซึ่งเป็นคำที่หลวงปู่ดู่ให้ใช้เป็นคำบริกรรมภาวนา อีกทั้งยังเป็นคำที่ใช้อธิษฐานบวชจิตอีกด้วย • อักขระ “นะ โม พุท ธา ยะ” ที่ด้านหลัง หมายถึง พระนามย่อของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัทรกัปนี้ • เส้นรัศมีโดยรอบอักขระ “นะ โม พุท ธา ยะ” หมายถึงอานุภาพแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่มีมากอย่างจะนับจะประมาณมิได้ ซึ่งแผ่ออกไปได้ทุกทิศทุกทาง • สัญลักษณ์ “นะปิดล้อม” ที่อยู่กึ่งกลางอักขระ “นะ โม พุท ธา ยะ” เป็นสัญลักษณ์ที่หลวงปู่ดู่ใช้จารในวัตถุมงคลของท่านเสมอ ๆ อีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านผู้รู้กล่าวว่า “นะ” มีความหมายตั้งแต่หยาบไปหาละเอียด โดยนะเบื้องต่ำหมายถึงธาตุดิน ส่วนสะเบื้องสูงหมายถึงพระธาตุ กล่าวคือ หากเราพัฒนาจิตของเราให้บริสุทธิ์ถึงที่สุดแล้ว ความบริสุทธิ์ของจิตนั้นก็สามารถที่จะกลั่นกระดูกซึ่งเป็นธาตุดินให้กลายเป็นพระธาตุได้ นะเบื้องสูงก็คือพระนิพพานนั่นเอง • ด้านซ้ายของชื่อพระพรหมปัญโญ จะพบพยัญชนะที่ดูคล้ายทั้ง “๑” และ “ด” ซึ่งเจตนาจะสื่อถึงหลวงปู่ดู่ ในขณะที่สัญลักษณ์คล้ายกากบาท (เลข ๕ โบราณ) ทางด้านขวาจะสื่อถึงหลวงปู่ทวด. บทสวดมหาจักรพรรดิ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง) (สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 ) นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ. พระคาถานี้ใช้สวดควบคู่กับพระหลวงปู่ดู่จะทรงอานุภาพสูงสุดอย่างหาที่เปรียบมิได้เลยครับ