ร้านพุทธานุภาพ พระเครื่อง | |||
|
ชื่อพระเครื่อง : เหรียญ หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว รุ่น 3 ปี 2511 พร้อมประวัติหลวงพ่อจันทร์ ประเภทพระเครื่อง : เลือกประเภทพระเครื่อง ราคา : โชว์เพื่อการศึกษาครับ สถานะ : เปิดให้เช่าวันที่ : 22 ส.ค. 56 - 06:13:51 เบอร์โทรติดต่อ : 081-931-0080 รายละเอียดพระเครื่อง : เหรียญ หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว รุ่น 3ปี 2511 พร้อมประวัติหลวงพ่อจันทร์ จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง เป็นเมืองหน้าด่าน มีประวัติการก่อตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานที่ค้นพบเป็นโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นกลองมโหระทึก โดยขุดค้นพบที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้ส่งไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแล้ว นอกจากนั้นยังพบพร้าสัมฤทธิ์และกลองมโหระทึกที่ เวียงเจ้าเงาะ บริเวณบ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอเมืองอีกด้วย ที่ทุ่งยั้งมีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่งคือ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เชื่อกันมาแต่โบราณว่า พระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งบนแท่นศิลาเพื่อบำเพ็ญอธิษฐานพระบารมี ณ แท่นศิลาแลงแห่งนี้ สำหรับพระแท่นเป็นศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 ฟุต ยาว 9 ฟุต 8 นิ้ว สูง 3 ฟุต ต่อมาประชาชนต่างก็เลื่อมใสศัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้มากราบไหว้พระแท่นศิลานี้ บางคนก็ขอเป็นที่ระลึกไว้กราบไหว้บูชา บ้างก็ขอไว้เป็นยารักษาโรค ด้วยเคยมีผู้เจ็บป่วยแล้วกระเทาะหินไปฝนน้ำรักษาโรคให้หายได้ ทำให้พระแท่นศิลามีขนาดเล็กลง ในที่สุดจึงได้สร้างมณฑปครอบไว้ในวิหาร และในปี พ.ศ. 2283 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เสด็จขึ้นมากราบนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ด้วย ในสมัยอยุธยา เมืองอุตรดิตถ์ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เมื่อเราเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่สองใน พ.ศ. 2310 ให้แก่พม่า หัวเมืองต่างก็ตั้งตนเป็นก๊ก เป็นเหล่า ที่เมืองฝาง หรือสวางคบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 20 กิโลเมตร พระสังฆราชเรือน ซึ่งเป็นผู้มีอาคมเชี่ยวชาญทางไสยเวทเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่เป็นพระ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า เจ้าพระฝาง ครองอาณาเขตตั้งแต่ น่าน แพร่ ลงมาจนถึงพิษณุโลก ซึ่งที่พิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ด้วย แต่ต่อมาไม่นานเจ้าพระยาพิษณุโลกก็พิราสัย เจ้าพระฝางจึงยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกได้ แล้วขยายเขตไปถึง เมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท และเมืองอุทัยธานี พระเจ้าตากสินทราบข่าวก็ยกทัพเรือมาสกัดไว้เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2313 พระเจ้าตากสินฯ สามารถยึดเมืองพิษณุโลกได้ จึงเตรียมทัพเพื่อตีเมืองสวางคบุรีต่อไป เจ้าพระฝาง เกิดนิมิตเห็นช้างเผือกตกมันเชื่อกหนึ่งด้วยความเชื่อว่า ขณะมีศึกสงครามถ้ามีช้างเผือกจะต้องเป็นของข้าศึก เป็นลางแห่งความพ่ายแพ้เจ้าพระฝางจึงได้หนีหายจากเมืองสวางคบุรีไปเมื่อชาวเมืองไม่มีผู้นำจึงได้มอบตัวยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินตั้งแต่นั้นมา ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าตากสินฯ ได้ครองกรุงธนบุรีแล้ว ได้บำเหน็จความชอบ ให้พระยาสีหราชเดโช (นายทองดี) ชาวเมืองพิชัยได้เป็นเจ้าเมืองพิชัย โดยให้เมืองสวางคบุรีมารวมอยู่กับเมืองพิชัยด้วย เมืองพิชัยเป็นเมืองสำคัญหน้าด่าน พม่าเคยยกทัพมาตีถึงสองครั้ง คือใน พ.ศ. 2315 และ พ.ศ. 2316 แต่พม่าไม่สามารถตีเมืองพิชัยได้ สำหรับในการรบกับพม่าใน พ.ศ. 2316 เจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาพิชัย ได้ยกกองทัพไปสกัดทัพพม่าจนถึงขั้นรบกันตะลุมบอน พระยาพิชัย สู้กับพม่าจนดาบหักไปเล่มหนึ่ง แต่พระยาพิชัย ก็สู้รบต่อไปจนได้รับชัยชนะด้วยดาบดีเล่มหนึ่ง ดาบหักเล่มหนึ่ง ด้วยวีรกรรมของยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ ในการรบครั้งนี้ จึงได้สมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก มาจนถึงทุกวันนี้ ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินได้เกิดมีกบฏที่เวียงจันทน์ ประเทศราชของไทยพระเจ้าตากสินให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปปราบปรามกบฏที่เวียงจันทน์ แต่ยังไม่ทันได้ปราบปรามกบฏได้อย่างราบคาบ ได้ข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจล ขอให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับมาแก้ไขสถานการณ์ จึงได้รีบยกกองทัพกลับพร้อมได้นำพระแก้วมรกต ซึ่งพระพุทธรูปของไทย แต่ได้ไปอยู่ เวียงจันทน์เสียหลายปี และในโอกาสนี้ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์เข้ามาอีกด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้ชาวเมืองเวียงจันทน์เข้มแข็งขึ้นมาได้อีก ในการกวาดต้อนชาวเวียงจันทน์ จากประเทศลาว มากับ กองทัพไทยที่ยกไปปราบกบฏที่เวียงจันทร์ ประเทศราช ของไทย มากับ กองทัพไทยด้วย ในครั้งนี้ได้นำกลุ่มชาวเวียงจันทน์ไปอยู่ในที่ต่างๆหลายแห่งเพื่อจะได้ไม่รวมตัวก่อการ แข็งข้อและทำให้ปกครองง่ายขึ้น และ ยังจะได้ช่วยทำไร่ ทำนา ส่งเสบียงอาหารให้กองทัพไทย ด้วย ส่วนหนึ่งของชาวเวียงจันทน์ จากประเทศลาว ก็ได้มาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจัดให้ชาวเวียงจันทน์พักอยู่ที่ บ้านกองโค บ้านวังสะโม อำเภอพิชัย บ้านหาดสองแคว บ้านเด่นสำโรง บ้านวังแดง อำเภอตรอน โดยจะมีหมู่บ้านของคนไทยพื้นเมืองเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม คั่นกลาง เช่น เมืองพิชัย บ้านดารา บ้านไร่ออ้ย บ้านเต่าไห บ้านท่าสัก บ้านแก่ง บ้านใหม่ เป็นต้น เป็นคนไทยพื้นเมืองเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม คั่นกลาง เพื่อจะได้ง่ายต่อการปกครอง และจะได้ไม่รวมตัว แข็งข้อขึ้นในภายหลัง จะทำให้ปกครองยาก มีปัญหาในภายหลังขึ้นมาได้ หมู่บ้านทั้งห้าหมู่บ้านนี้มีความแตกต่างไปจากหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่คั่นกลาง อย่างชัดเจนโดยชาวเวียงจันทน์ ที่์พักอยู่ที่ บ้านกองโค บ้านวังสะโม อำเภอพิชัย บ้านหาดสองแคว บ้านเด่นสำโรง บ้านวังแดง อำเภอตรอน อย่างเห็นได้ชัดเจนทีเดียว ทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาที่พูด ซึ่งก็ยังเหมือนชาวเวียงจันทน์ทุกประการ เพียงแต่ไม่รับประทานข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก เหมือนคนลาวทั่วๆไป จะรับประทาน ข้าวจ้าว เป็นอาหารหลัก เหมือนหมู่บ้าน คนไทยพื้นเมืองเดิม ที่อยู่คั่นกลาง หมู่บ้านหาดสองแคว หมู่บ้านที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ประชาชนในหมู่บ้าน อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ประชาชนประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา หากินอย่างสุจริต ดำรงความเป็นอยู่ กับคนไทยได้อย่างกลมกลืน สมัครสมานสามัคคี กลมเกลียว กับคนไทยพื้นเมืองเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เหมือนกับคนไทยพื้นเมืองดั้งเดิมในพื้นที่ เมื่อมีประชาชนในหมู่บ้านมากขึ้น ก็ได้ช่วยกันตั้งวัดที่บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน เมื่อ พ.ศ. 2352 คือ หลังจากมาตั้งถิ่นฐานเมื่อ พ.ศ. 2325 ใช้เวลาเพียง 27 ปี ก็สามารถตั้งวัดได้ โดยมีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา วัดหาดสองแควตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน จึงต้องมีการย้ายวัดถึง 3 ครั้ง เพราะเหตุตลิ่งพัง มีเจ้าอาวาสปกครองวัดหาดสองแควมา 10 กว่ารูป เจ้าอาวาสที่ปรากฏรายนามมีดังนี้ 1. หลวงพ่อกล่อม 2. พระอาจารย์ย้อย 3. พระอธิการชุ่ม 4. พระอาจารย์ทอง 5. พระครูนวการโฆษิต (หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก) 6. พระครูมงคลสิริวิธาน (บุญเลิศ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2452 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ท่านได้เสด็จภาคเหนือ ได้เสด็จมาประทับแรมที่วัดหาดสองแควเป็นเวลา 2 วัน พระองค์ท่านได้มีพระดำรัสแนะนำให้คณะสงฆ์และคฤหัสถ์ ชาวบ้านหาดสองแควว่าวัดนี้ไม่มีอุโบสถที่จะทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ได้ควรจะมีการสร้างอุโบสถ จนมาถึงปี พ.ศ. 2466 พระอธิการจันทร์ โฆสโ ก เจ้าอาวาสก็ได้สร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง ในหมู่บ้านหาดสองแคว มีครอบครัวของ คุณพ่อกิ ตรีพุฒ คุณแม่บัว ตรีพุฒ มีบุตรธิดาด้วยกันจำนวน 8 คน ดังนี้ 1. นางนาค เอ็ดมา 2. นายจันทร์ ตรีพุฒ ต่อมาก็คือ หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก พระอุปัชฌาย์จันทร์ หรือ พระครูนวการโฆษิต 3. นางลาย ศรีสวัสดิ์ 4. นายแดง ตรีพุฒ 5. นางตู้ พุ่มไสว ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ 6. นางชุ่ย คงสวัสดิ์ 7. นางจำปา หาญอมร 8. นางจำปี ศรีสวัสดิ์ นายจันทร์ ตรีพุฒ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2440 ตรงกับวันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา นายจันทร์ ตรีพุฒ ต่อมาก็คือ หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก พระอุปัชฌาย์จันทร์ หรือ พระครูนวการโฆษิต เจ้าอาวาสวัดหาดสองแควนั่นเอง ในวัยเด็ก เด็กชายจันทร์ ตรีพุฒ เป็นเด็ก ว่านอนสอนง่าย รักสงบ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนมาให้พ่อแม่และครอบครัว เป็นเด็กที่มีความเมตตาปรานีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เช่นในครั้งหนึ่งจากคำบอกเล่าของ นางตู้ พุ่มไสว ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ว่า คุณพ่อกิ ตรีพุฒ ได้ไปหาปลาไว้เป็นอาหารสำหรับครอบครัว ซึ่งหาได้ไม่ยากในสมัยนั้น เมื่อนำมาปรุงอาหารได้เพียงพอแล้ว ปลาที่เหลือก็ให้เด็กชายจันทร์นำไปขังไว้ในโอ่งหลังบ้าน เพื่อเก็บไว้ทำอาหารมื้อต่อไป แต่เด็กชายจันทร์ก็ได้แอบเอาปลาเหลือนั้นไปปล่อยที่แม่น้ำน่าน ซึ่งก็ไม่ห่างไกลจากบ้านมากนัก จนเป็นที่รู้จักทั้งครอบครัวว่า เด็กชายจันทร์มีความรัก มีความเมตตาต่อเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเหมือนโดยเด็กทั่วไป ซึ่งพอมีเวลาว่างมักจะชวนกันไป ยิงนก ตกปลา กัดปลา ชนไก่ และ เล่นซุกซน ตามประสาเด็ก แต่เด็กชายจันทร์ ไม่เหมือนกับเด็กชายทั่วๆไป กลับชอบไปที่วัดหาดสองแควมากกว่า คือได้ไปหัดเรียนเขียนอ่านหนังสือกับพระเณรที่วัดหาดสองแคว ในสมัยนั้นโรงเรียนยังมีไม่มากนัก ผู้ที่สนใจอยากรู้หนังสือกับพระที่วัดเท่านั้น เด็กชายจันทร์เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเรียน สนใจเรียนทั้งหนังสือไทย บาลี สันสกฤต และหนังสือขอม พร้อมทั้งยังได้หัดสวดมนต ์กับพระเณรที่วัดจนแคล่วคล่อง และเมื่อมีโอกาสมักจะขออนุญาติจากทางบ้านไปนอนที่วัดหาดสองแควเป็นประจำ เมื่อถึงวัยอันสมควร คุณพ่อกิ คุณแม่บัว ตรีพุฒิ จึงได้อนุญาตให้เด็กชายจันทร์บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 13 ปี เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนตามที่สนใจ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้หมั่นศึกษาหาความทั้งด้านหนังสือ พระธรรมวินัยจนเป็นผู้มีความรู้แตกฉาน ต่อมาได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ ครั้นอายุได้ 22 ปี เมื่อผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว จึงได้ขออนุญาติจาก คุณพ่อกิ คุณแม่บัว อุปสมบทที่วัดหาดสองแควเมื่อ พ.ศ. 2462 การอุปสมบท นายจันทร์ ตรีพุฒ เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว เมื่อไม่ถูกทหารก็ หมด ภาระ จึงมีจิตใจฝักใฝ่จะอุปสมบท ได้ปรึกษากับ คุณพ่อกิ คุณแม่บัว ตรีพุฒิ และพี่สาว ได้พูดคุยกับพี่สาว ซึ่งแต่งงานมาหลายปีแล้วว่าการมีครอบครัวมีความสุขสนุกดีเพียงใด พี่สาวก็ตอบว่าสนุกดี ในที่สุดได้ขออนุญาตพี่สาว ซึ่งกำลังให้นมบุตร ขอจับนมดู พี่สาวอนุญาติ เมื่อจับนมแล้วก็มาจับน่องของตนเองแล้วก็กล่าวกับพี่สาวมันก็เหมือนกัน เลยตัดสินใจจะอุปสมบทไปจนตลอดชีวิต ซึ่งท่านก็ได้อุปสมบทจนมรณภาพ โดยไปอุปสมบทที่วัดบ้านแก่งใต้ ด้านเหนืออยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำน่าน กับหาดสองแคว ในขณะนั้นวัดหาดสองแควยังไม่มีพระอุโบสถ โดยพระวิเชียรปัญญามุนี ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพุ่ม จนทสโร เจ้าอาวาสวัดคลึงคราช และพระครูเมธาวรกุล (พระครูหมี) เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่งใต้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อได้อุปสมบทแล้วได้มุมานะศึกษาเล่าเรียนทั้งบาลี สันสกฤต การเทศน์ธรรมเพื่อสั่งสอนประชาชน โดยได้หัดเทศน์กับ หลวงพ่อพุ่ม จนทสโร เจ้าอาวาสวัดคลึงคราช ซึ่งเป็นพระนักเทศน์ชื่อดังของจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้น โดยเฉพาะกัณฑ์ชูชก หลวงพ่อพุ่ม เทศน์ได้ไพเราะหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ทีเดียว นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถาอาคม ตำราแพทย์แผนโบราณจากหลวงพ่อพุ่ม จนทสโร อีกด้วยหลวงพ่อพุ่ม จนทสโร เคยได้ไปศึกษาสืบทอดวิชาอาคมจากหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร ซึ่งการไปศึกษาวิชาของหลวงพ่อพุ่มได้ไปพร้อมกับหลวงพ่อฮวบ วัดสามัคคยาราม (หนองเหี้ย) ซึ่งหลวงพ่อพุ่ม กับ หลวงพ่อฮวบ มีพลังจิตและวิชาอาคมกล้าแข็ง ไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นสหมิกธรรมกัน ไปมาหาสู่กันเสมอ ซึ่งหลวงพ่อฮวบ วัดสามัคคยาราม (หนองเหี้ย) ต่อมาก็มีศิษย์เอก คือหลวงพ่อไซ้ร วัดช่องลม ซึ่งการศึกษาวิชาอาคมของหลวงพ่อจันทร์ โฆสโก นอกจากจะได้ศึกษากับ หลวงพ่อพุ่ม จนทสโร แล้วยังได้ศึกษาวิชาคาถาอาคมจากตำราเก่าแก่ของบรรพบุรุษ ที่มาจากเวียงจันทน์ (หลักฐานนี้ปรากฏเมื่อหลวงพ่อจันทร์มรณภาพแล้วในหีบ หนังสือของท่านมีตำราเก่าแก่เป็นภาษาขอม ภาษาลาว ส่วนหนึ่งยังคงเก็บไว้ที่วัดหาดสองแคว และอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่บ้านกำนันเหรียญ ศรีสวัสดิ์ น้องเขยคนเล็กของหลวงพ่อ) เคยมีญาติโยมเรียนถามท่านว่า เรียนอะไรมากมาย จะเอาไปทำอะไร ท่านก็ตอบว่าเพื่อเอาไว้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก เพราะวัดอยู่ได้ด้วยอาศัยแรงศรัทธาของชาวบ้าน ต้องตอบแทนเขาที่เขาเลี้ยงเรามาจนทุกวันนี้ ซึ่งนั่นก็คือ วัดพึ่งบ้าน บ้านพึ่งวัด เป็นความสัมพันธ์ ที่แน่นแฟ้น แยกกันไม่ได้ ตั้งแต่โบราณกาล มาแล้วในสังคมไทย สหายทางธรรมที่สนิทสนมกันดีของหลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว อ.ตรอน ก็มีหลวงหลวงพ่อไซ้ร วัดช่องลม อ.เมือง หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส อ.ลับแล และพระนิมมาน โกวิท (หลวงพ่อทองดำ) วัดท่าทอง อ.เมือง ศิษย์หลวงปู่ทิม ซึ่งเป็นสุดยอดพระเกจิอาจารย์ชั้นแนวหน้าของ จังหวัด อุตรดิตถ์ ต่างก็ไปมาหาสู่กันเสมอ จากการที่เคยได้เรียนถามท่านพระนิมมาน โกวิท (หลวงพ่อทองดำ) ว่าหลวงพ่อจันทร์กับท่านสนิทสนมรักใคร่กันปานใด ท่านตอบว่าอาจารย์จันทร์ อาจารย์ไซร้ อาจารย์บุญ ไปมาหาสู่กันเสมอ อาจารย์จันทร ์แก่กว่าท่าน 3 ปี มีอะไรก็ช่วยเหลือกันมาตลอด แต่เสียใจที่ อาจารย์ไซร้ อาจารย์จันทร์ อาจารย์บุญ ไม่น่าจะจากไปเร็วถ้ายังอยู่คงช่วยกันทำงานได้เยอะและก็เป็นไปอย่างที่หลวงพ่อกล่าวไว้พยายามศึกษาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก ในตอนแรกๆ ก็ให้ผูกข้อมือเด็กเจ็บป่วย เด็กที่เคยเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ก็มายกให้เป็นลูกเลี้ยงของหลวงพ่อ เด็กก็หายป่วยเป็นปลิดทั้งชื่อเสียงของหลวงพ่อก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นพระผู้รู้ทั้งทางด้าน นักธรรม บาลี สันสกฤต คาถาอาคม และหลวงพ่อจันทร์ ยังมีความรู้ทางด้านการก่อสร้างอีกด้วย ตั้งแต่ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แล้วว่า วัดหาดสองแคว ควรจะสร้างอุโบสถได้แล้ว จึงได้ชักชวนประชาชนในหมู่บ้านสร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง มีขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 9 วา สิ้นค่าก่อสร้าง 16,825.30 บาท และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสหลังจากรักษาการเจ้าอาวาสมานานในปี พ.ศ. 2467 คืออุปสมบทได้ 5 ปี ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว ด้วยที่หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก เป็นผู้สนใจในการศึกษาเล่าเรียยน ได้อบรมพระเณรในวัดหาดสองแควให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ สนใจศึกษาเล่าเรียน เพื่อจะได้อบรมสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้อง ในวัดจึงมีพระเณรมากมายที่ต้องการมาศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อจันทร์จนศาลาการเปรียญซึ่งจัดไว้เป็นที่เล่าเรียนของพระ เณรไม่เพียงพอในปี พ.ศ. 2471 ได้ชักชวนคณะสงฆ์ประชาชนในหมู่บ้านสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น 1 หลัง มีขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 6 วา สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 8,665.25บาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2477 วัดหาดสองแควอยู่ใกล้กับแม่น้ำน่านตลิ่งพังจนเกือบถึงวัด หลวงพ่อจึงได้ชักชวนคณะสงฆ์ ประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันรื้อย้ายวัดหาดสองแคว โดยย้ายเข้ามาอีก 400 เมตร เมื่อย้ายวัดมาตั้งใหม่ก็ต้องสร้างเสนาสนะกันใหม่ เริ่มด้วยสร้างศาลาการเปรียญใน พ.ศ. 2479 เป็นศาลาการเปรียญขนาดใหญ่มากมีความกว้าง 9 วา 2 ศอก ยาว 15 วา สิ้นค่าก่อสร้างไปประมาณ 34,225.75 บาท ด้วยบารมีของหลวงพ่อจันทร์ โฆสโก มีพระ เณร มาอยู่เพื่อศึกษาเล่าเรียนจากท่านมากขึ้นทุกปี พระเณร อยู่กันอย่างแออัด จึงได้สร้างกุฏิขึ้นมาอีก 2 หลัง ในพ.ศ. 2486 โดยกุฏิมีขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา สั้นค่าก่อสร้าง 13,212.50 บาท ในปีพ.ศ. 2489 ได้ก่อสร้างหอสวดมนต์อีก 1 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา สิ้นค่าก่อสร้าง 7,256.50 บาท หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก อุปสมบทได้ 14 พรรษา คือใน พ.ศ. 2476 ได้รับบแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยได้เห็นในคุณงามความดีของหลวงพ่อ เพื่อจะได้บรรพชา อุปสมบทบุตรหลานให้สืบทอดพระพุทธศาสนาไปในภายข้างหน้า จึงมีการบรรพชา อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อจันทร์ โฆสโก เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่เนืองนิจ ด้วยความเลื่อมใสศัทธาในปาสาทะของหลวงพ่ออุปัชฌาย์จันทร์นั่นเอง แม้เมื่อถึงคราวจะลาสิกขาบทพระภิกษุ สามเณรจะมากราบนมัสการให้หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ ลาสิกขาบทให้ เพราะผู้ที่ได้มาสิกขาบทจากหลวงพ่อจะต้องมีวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกทุกคน โดยเฉพาะน้ำมนต์ของหลวงพ่ออุปัชฌาย์นั้นขลังยิ่งนัก ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนได้ในยุคนั้น บางคนถูกใส่ร้ายโดยที่ตนเองไม่ผิด ต้องคดีขึ้นโรง ขึ้นศาล พอได้น้ำมนต์ของหลวงพ่ออุปัชฌาย์ได้อาบสะเดาะเคราะห์ให้คดีความร้ายสูญหายไปสิ้น การดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะในวัดหาดสองแคว โดยมากจะอาศัยแรงงานจากประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันก่อสร้าง โดยมีพระ เณรในวัดช่วยบ้าง เมื่อว่างจากเล่าเรียนธรรมะการก่อสร้างสมัยนั้นไม้ในป่ามีมากมายและไม่ไกลจากวัดเท่าใดนัก เมื่อจะมีการก่อสร้าสาธารณสมบัติต้องไปขออนุญาตจากทางอำเภอ ขออนุญาตใช้ไม้ เมื่อทางราชการอนุญาต ก็จะขอความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้าน ผู้ใดมีเกวียนก็นำเกวียนไป ผู้ไม่มีก็เป็นแรงงาน ส่วนผู้หญิงที่อยู่ทางบ้านก็จัดเตรียมเสบียงอาหาร เป็นการแบ่งเบาภาระช่วยเหลือกันเพื่อให้ศาลาการเปรียญ กุฏิ สำเร็จลงได้ เมื่อได้ไม้เพียงพอก็ชักลากมาแปรรูปที่วัดหาดสองแคว เมื่อตกแต่งตัวได้เพียงพอก็เริ่มก่อสร้าง โดยหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทุกครั้ง ในวันที่ 5 ธันวาคม 2499 หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูนวการโฆสิต พระครูชั้นตรี นำความปลาบปลื้มใจมาสู่ชาวหาดสองแควยิ่งนัก แต่ท่านหลวงพ่อกลับเฉยเมย ในสิ่งที่ได้รับ ท่านกล่าวกับศิษย์ ว่าอุตส่าห์มาบวชเป็นพระก็ยัง จะให้ยศให้ศักดิ์ อีก มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันนี้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งที่พระครูทำหน้าที่เป็นรองเจ้าอาวาสและหน้าที่เลขาของเจ้าอาวาสด้วย ได้ทำเรื่องนำคำขอที่จะยื่นเรื่องเลื่อนยศของหลวงพ่อพระครูนวการโฆสิต (จันทร์) จากพระครูชั้นตร ีเป็นชั้นโท ทุกอย่างได้ดำเนินการหมดแล้วเพียงแต่ให้ท่านลงลายมือลายเซ็นต์ชื่อเท่านั้น หลวงพ่อถามว่า ทำไปทำไม เอามาทำไม ลาภ ยศ สรรเสริญ นั้นกินได้หรือ และหลวงพ่อท่านก็ไม่ ลงลายมือเซ็นต์ ซึ่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) ยังนิยมยกย่องท่านหลวงพ่อยิ่งนัก ว่าท่านหลวงพ่อไม่ได้ต้องการยศถาบรรดาศักดิ์อันใดเลย หลวงพ่อจึงเป็นพระครูชั้นตรีจนกระทั่งมรณภาพ การก่อสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก เทพเจ้าของชาวหาดสองแควและตำบลใกล้เคียง ต่างก็มีความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะในหลวงพ่ออย่างที่สุดได้มีคณะศิษย์ คณะกรรมการวัดหาดสองแคว ได้พร้อมใจกันมาขออนุญาตต่อหลวงพ่อ เพื่อขอสร้างวัตถุมงคล เพื่อไว้กราบไว้บูชา มีการขออนุญาตหลายครั้ง หลวงพ่อท่านก็บอกว่ายังไม่ถึงเวลา ในที่สุดหลวงพ่อคงเห็นในความจริงใจและศรัทธาของคณะศิษย์ คณะกรรมการวัดจึงได้อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้มอบให้คณะศิษย์ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคสิ่งของช่วยเหลืองานวัดเป็นประจำเช่นคณะแม่ครัว เมื่อได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แล้ว คณะศิษย์ คณะกรรมการวัด ต่างก็ได้ร่วมกันสละทุนเป็นปัจจัยในการสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น โดยติดต่อช่างจากกรุงเทพฯ มาจัดทำเหรียญ เป็นเหรียญไข่ปลาล้อมรอบเหรียญ มีสองชนิดคือชนิดมีเข็มด้านหลัง และ หูห่วง เชื่อม เพื่อแจกให้คณะศิษย์กรรมการและผู้ช่วยเหลือในการก่อสร้าง ส่วนเหรียญที่ไม่มีเข็มกลัดแจกให้คณะแม่ครัวและผู้ที่มีจิตศรัทธามาช่วยเหลืองานวัดหาดสองแควเป็นประจำ การสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกสร้างประมาณ 500 เหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ลักษณะห่มดอง มีตัวหนังสือ ด้านล่าง ว่า พระอุปัชฌาย์จันทร์ วัดหาดสองแคว ด้านหลังเป็น ยันต์ ต่างๆ เป็นเหรียญไข่ปลาล้อมรอบเหรียญ มีสองชนิดคือชนิดมีเข็มด้านหลัง และ หูห่วง เชื่อม เป็นเพราะไม่มีทุนและไม่หวังว่าจะมีการจำหน่าย เหรียญรุ่นแรกจึงสร้างน้อย แจกอยู่ไม่นานเหรียญก็หมด เพราะสร้างจำนวนน้อยมาก แต่ผู้ที่มีจิตศรัทธาในหลวงพ่อมีมากเหลือเกินผู้ที่ได้รับเหรียญไปสักการะบูชาแล้วก็ได้ประสบการณ์จากเหรียญมากมาย ทำให้รอดตายจากอุบัติเหตุ รอดตายจากการลอบทำร้าย ประสบแต่ความรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น จะขอยกประสบการณ์จากเหรียญรุ่นที่หนึ่งพอเป็นตัวอย่างสังเขปดังนี้ กำนันสวาท เรืองเดช อดีตกำนันตำบลหาดสองแคว ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งกำนัน กำนันมีอาชีพขับรถยนต์รับจ้าง วันหนึ่งกำนันสวาท เรืองเดช ได้ขับรถยนต์รับจ้างไปตามปกติ ได้มีรถยนต์ขับตัดหน้าอย่างกระทันหันต้องเบรกอย่างแรง รถยนต์พลิกคว่ำล้อชี้ฟ้าเลยทีเดียวที่จังหวัดนครสวรรค์บริเวณสมบูรณ์ มีผู้โดยสารเต็มคันรถไม่มีใครได้รับอันตรายเลยแม้แต่คนเดียว รถยนต์กระจกหน้าก็ยังไม่แตก มีกระจกส่องหลังด้านข้างคนขับกระจกแตกเพียงอย่างเดียว กำนันสวาทเรืองเดชขอร้องให้ผู้โดยสารช่วยกันพลิกรถยนต์สองแถวขึ้น รถยนต์วิ่งกลับมาอุตรดิตถ์ได้เหมือนปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น กำนันสวาท เรืองเดช ในตัวมี เหรียญหลวงพ่อจันทร์รุ่นที่หนึ่งเพียงองค์เดียวเท่านั้น ด้วยปาฏิหารย์ของเหรียญหลวงพ่อเหรียญเดียวสามารถคุ้มครองคนได้ทั้งรถเลยทีเดียว เหรียญนี้กำนันสวาท เรืองเดช ได้มอบให้บุตรชายชื่อ วีรวัฒน์ เรืองเดช ปัจจุบันรับราชการอยู่การไฟฟ้าภูมิภาคพิษณุโลก ซึ่งก็ได้นำติดตัวเป็นประจำ เพราะเคยได้ยินประสบการณ์จากพ่อแล้ว เมื่อหลายปีที่แล้วคุณวีรวัฒน์ เรืองเดช ได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์ซ้อนมากับเพื่อนวิ่งมาด้วยความเร็วเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์อย่างแรง จนคุณวีรวัฒน์กับเพื่อนกระเด็นข้ามรถยนต์เลยทีเดียวทั้งคุณวีรวัฒน์และเพื่อนซ้อนรถไปด้วยไม่มีอันตรายแต่อย่างใดเลย จนเป็นที่แปลกใจของเจ้าของรถยนต์และเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างยิ่ง อีกราย นายสมพงษ์ ทองสวรรค์ บ้านอยู่ที่ บ้านแก่ง อำเภอตรอน คุณสมพงษ์ก็ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อคนหนึ่ง เคยอยู่รับใช้หลวงพ่ออยู่เสมอและได้รับเหรียญรุ่นหนึ่งมาจากหลวงพ่อด้วย มีอยู่คราวหนึ่งคุณสมพงษ์ ขับรถยนต์จะไปที่ต่างจังหวัดแพร่ ขณะจะขึ้นเขาพลึง เกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำ รถยนต์เสียหายมาก แต่คุณสมพงษ์กับคณะที่ไปด้วยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อีกราย นางต้อม พะตัน ชาวบ้านหาดสองแควได้เคยมาช่วยงาน ที่วัดหาดสองแควเป็นประจำเลยได้รับเหรียญแม่ครัวจากมือ หลวงพ่อพระอุปัชฌายจันทร์์ ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อ จะเดินทางไปที่ใดก็จะมีเหรียญหลวงพ่อติดตัวไปด้วยเสมอ โดยเอาเหรียญใส่ไว้ในปกเสื้อ วันหนี่งเดินทางไปธุระที่อุตรดิตถ์ ขึ้นรถโดยสารไป รถยนต์เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ จนเหรียญของหลวงพ่อจากปกเสื้อกระเด็นออกมากลางถนน โดยที่นางต้อม พะตัน ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก ท่านเป็นพระที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย ด้วยท่านเป็นผู้ที่ตั้งมั่นในจิตศรัทธามุ่งมั่น แต่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ตัวท่านเองจะเดือดร้อนประการใด ลำบากก็ไม่บ่น ไม่ย่อท้อ มีแต่อยากจะทำ อยากจะช่วยเหลือ ใครมานิมนต์ไม่ว่ายาก ดี มี จน ใกล้ ไกลเพียงใดถ้าไม่ติดนิมนต์จะรับนิมนต์ทันที วันๆ หลวงพ่อเกือบจะไม่มีเวลาเป็นของตนเอง จะพักผ่อนกลางวันบ้างไม่มีเสียละ เริ่มตั้งแต่เช้ามีผู้มาให้เจิมรถยนต์ ผูกข้อมือ ไปตามกิจนิมนต์ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน และงานอื่นๆ อีกมากมาย เช่น วันหนึ่งกำนันเหรียญ ศรีสวัสดิ์ กำนันตำบลหาดสองแคว ซึ่งเป็นน้องเขยคนเล็กของท่าน มานิมนต์ให้หลวงไปเจิมเครื่องสูบน้ำ ซึ่งนำมาติดตั้งที่ บ้านเด่นสำโรง อำเภอตรอน อยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำน่าน กับ วัดหาดสองแคว เมื่อหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์์ ทำพิธีเจิมเครื่องสูบน้ำเสร็จ กำนันเหรียญ ก็ให้นายช่างติดเครื่องยนต์ทันที เมื่อเครื่องยนต์ติดด้วยแรงลมของเครื่องยนต์ได้พัดเอาจีวรของหลวงพ่อติดไปกับใบพัด เครื่องยนต์การ์ดเนอร์ 6 สูบ ขนาด 75 แรงม้า ซึ่งกำลังเครื่องยนต์สูงมาก เครื่องยนต์ได้ฉุดจีวรพร้อมดึงเอาตัวหลวงพ่อจันทร์์ เข้าไปด้วย โดยไม่มีใครสามารถดับเครื่องยนต์ได้เพราะมัวแต่ตกตะลึงและเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน เครื่องยนต์ดึงจีวรพร้อมหลวงพ่อเข้าจนใบพัดฟาดเข้าที่ศีรษะอย่างจัง แล้วเครื่องยนต์ก็ดับทันที ใบพัดเครื่องยนต์หัก หลวงพ่อพระอุปัชฌายจันทร์์ สลบไปทันที เพราะจีวรที่พัดคอหลวงพ่อรัดคอจนหายใจไม่ออก และศีรษะถูกกระแทก อย่างแรงด้วย นายหวัง หวังสืบ ได้ใช้มีดปาดจีวรที่รัดคอหลวงพ่อออก แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ทันที จากคำบอกเล่าของ พระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) เจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว องค์ปัจจุบัน ซึ่งติดตามหลวงพ่อไปด้วย เล่าให้ฟังว่า ศีรษะของหลวงพ่อน่วมไปหมดเลย แต่แปลกจังไม่มีแผลหรือรอยแตก แม้แต่นิดเดียว แพทย์ พยาบาล ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ยังแปลกใจที่ไม่มีบาดแผลหรือรอยแตก อันใดเลย เมื่อหลวงพ่อฟื้นแล้ว พักผ่อนที่โรงพยาบาลได้ไม่กี่วัน ก็กลับมาที่วัดหาดสองแควได้ตามปกติ อีกรายที่มีประสบการณ์จากเหรียญรุ่นหนึ่งของ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก คือ คุณอรุณ น้อยมณี น้องสาวของ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯพณฯ ดำริ น้อยมณี ก็ได้รับประสบการณ์จากเหรียญรุ่นหนึ่ง โดย คุณอรุณ น้อยมณี เป็นผู้ที่เคารพศรัทธาในหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ จันทร์อย่างที่สุด เมื่อใดที่วัดหาดสองแควมีงานก็จะชวนญาติชาวบ้านแก่งไปช่วยงานวัดหาดสองแควเป็นประจำ จนได้รับเหรียญแจกมาจากหลวงพ่อ เมื่อได้รับเหรียญมาแล้วก็นำติดตัวไปด้วยตลอด ครั้งหนึ่งเดินทางไปต่างจังหวัดด้วยรถยนต์เกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำเสียหายมาก มีคนบาดเจ็บหลายคน แต่คุณอรุณ น้อยมณี ไม่ได้รับอันตรายเลย และ อีกประสบการณ์หนึ่ง สมัยก่อนมีโจรลักโขมย และปล้นวัวควาย ชุกชุม มี ชาวนาบ้านหาดสองแคว คนหนึ่ง นอนเฝ้าควาย 4-5 ตัว คืนหนึ่งมีโจรเข้ามาปล้นควาย เอาปืนจี้ ด้วยความเสียดาย ควายจน ลืมตาย คว้ามีดดาบเล่มเดียวสู้กับโจร ซึ่งมีปืนเป็นอาวุธ เขาถูกโจรทั้ง 4-5 คน ระดมยิง บางกระบอกก็ยิงไม่ออก บางกระบอกก็ยิงออกแต่ไม่โดน บางกระบอก ยิงออกแต่ไม่เข้า เมื่อรู้ว่าตัวเองมีของดีคุ้มครอง ก็มีจิตใจฮึกเหิม เขาเอามีดดาบเล่มเดียว ไล่ฟันสู้โจรปล้นบาดเจ็บ จนกระเจิงหนีไปอย่างเหลือเชื่อ ตัวเขาไม่เป็นอะไรเลย เสื้อขาดเป็นรู เป็นรอยจ้ำๆ ที่หน้าอก ในตัวเขามีเพียงเหรียญรุ่นแรก แบบเข็มกลัดของ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก แบบ เข็มกลัด กลัดที่อกเสื้อเพียงเหรียญเดียวเท่านั้น เป็นที่โจษขานกล่าวขวัญ กันอย่างมาก ทั้งหมู่บ้านหาดสองแคว และหมู่บ้านใกล้เคียง ในสมัยนั้น เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จันทร์ โฆสโก ซึ่งสร้างจำนวนไม่มากนัก แต่คนศรัทธาในหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์มีมากเหลือเกิน ไม่นานเหรียญก็หมดไปจากวัดหาดสองแคว คณะศิษย์ คณะกรรมการวัดและผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อพระอุปัชฌายจันทร์์ มาขออนุญาตให้หลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลอีก แต่หลวงพ่อก็บอกว่าสร้างแค่นั้นก็พอแล้ว ของดีไม่ต้องมีมาก เมื่อไม่มีเหรียญหลวงพ่อก็ช่วยอาบน้ำมนต์ ผูกข้อมือ ให้ทุกรายที่มากราบนมัสการหลวงพ่อ จนถึงปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูนวการโฆษิต ในวันที่ 5 ธันวาคม 2499 คณะศิษย์ คณะกรรมการ ก็ขอให้ท่านหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลอีก ท่านก็ไม่อนุญาตเช่นเคย จนมาถึง พ.ศ. 2504 ท่านไม่สามารถทนการรบเร้าของคณะศิษย์ คณะกรรมการวัดหาดสองแควได้ จึงอนุญาตให้สร้างเหรียญรุ่นที่ 2 ขึ้น ห่างจากการสร้างเหรียญรุ่นแรกถึง 13 ปี เลยทีเดียว เหตุที่อนุญาตเพราะผู้ที่ได้รับเหรียญรุ่นแรกไปได้รับประสบการณ์ เช่น รอดตายจากอุบัติเหตุ ถูกลอบทำร้าย ถูกปล้นไม่เป็นอันตราย ทำมาค้าขึ้น ไปติดต่อเจ้านายสำเร็จลุล่วง ฯลฯ แต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของเหรียญเลย เพราะของมีน้อยและเจ้าของเหรียญก็หวงแหน เมื่อได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อท่านพระครู และคณะศิษย์ คณะกรรมการวัดหาดสองแควได้ติดต่อ นายช่างมาดำเนินการสร้างเหรียญรุ่นที่สอง ่นายช่างแกะแม่พิมพ์เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ลักษณะห่มดอง มีตัวหนังสือ ด้านบนว่า พระครูนวการโฆษิต ด้านล่าง แต่นายช่างแกะแม่พิมพ์เหรียญรุ่นนี้ ชื่อวัดผิด คือวัดหาดสองแถว และที่ถุก คือวัดหาดสองแคว ด้านหลังเป็นรูปยันต์ใบพัด คือ อุ มะ อะ เพิ่มอยู่ด้านบน ต่างจากยันต์รุ่นแรกจะไม่มี ยันต์ใบพัด และยันต์ อื่่นๆ ต่างๆ เหมือนรุ่นแรก อยู่ด้าน ด้านล่าง เป็น พ.ศ.๒๕o๔ เป็น เหรียญเนื้อทองแดง กะหลั่ยทอง เมื่อสร้างเหรียญเสร็จท่านพระครูนวการโฆษิต ปลุกเสกเดี่ยวเหมือนรุ่นแรก เมื่อปลุกเสกนานจนเป็นที่พอใจแล้ว หลวงพ่อก็แจกจ่ายให้ผู้มีจิตศรัทธาไว้กราบไว้บูชา ป้องกันตัวเมื่อ มีภัยมา เหรียญรุ่นที่่สองเนื้อทองแดง กะไหล่ทองสร้างไม่มากนักจำนวน 2,000 เหรียญ คณะศิษย์ ญาติโยมเมื่อทราบข่าว หลวงพ่อท่านพระครูสร้างเหรียญ ก็มาขอกราบนมัสการ หลวงพ่อพระครูก็มอบเหรียญให้ได้ทุกคน แจกอยู่ไม่นานเหรียญรุ่นที่สอง ก็หมดไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์์ เทพเจ้าของชาวบ้านหาดสองแควนั่นเอง เนื่องจากประสบการณ์ จากเหรียญรุ่นแรก เป็นที่ประจักษ์ เมื่อได้รับเหรียญรุ่นที่สองไปแล้ว จะขอเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากเหรียญรุ่นที่สอง พอสังเขปดังนี้ี นางเชื่อม สุขเกษม ราษฎรหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภรรยาของ นายปิ่น สุขเกษม จากคำบอกเล่าของนายปิ่น สุขเกษมผู้สามีว่า นางเชื่อม สุขเกษม ผู้เป็นภรรยาป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ลำคอ เจ็บปวดทรมาน รักษาอย่างไรก็ไม่หายหมดเงินทองไปมากมาย ก็หมดอาลัยในชีวิต คิดจะฆ่าตัวตาย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่สามีและบุตร สามีก็พยายามปลอบใจให้สู้กับโรคร้าย โดยพยายามพาไปหาหมอหายา แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น วันหนึ่งนายปิ่นออกไปทำงานที่กลางนาตามปกติ นางเชื่อมคิดว่าไม่สามารถรักษาโรคร้ายให้หายได้จึงขอฆ่าตัวตายดีกว่า จึงได้ตัดสินใจใช้ปืนลูกซองยาวของนายปิ่นสามียิงตัวตาย โดยใช้ปากอมปากกระบอกปืน ใช้เท้าเหนี่ยวไกปืน แต่ปรากฏว่าปืนลูกซองยาวไม่ลั่น นางเชื่อมได้ยิงตัวตายอีกครั้งปืนลูกซองยาวก็ไม่ลั่นอีกจึงนึกขึ้นได้ว่ามีเหรียญของหลวงพระครู จึงได้ถอดออกจากคอวางไวในจานข้างที่นอน คราวนี้เปลี่ยนลูกปืนใหม่และยิงตัวตายอีกครั้ง ครั้งนี้ปืนลั่นนางเชื่อมเสียชีวิตทันที จากหลักฐานที่ปรากฏว่ายิงครั้งแรกปืนไม่ลั่นมีลูกปืนที่ยิงไม่ออกวางตกอยู่บนที่นอน มีร่องรอยใช้ยิงมาแล้วจนแก๊ปทะลุ แสดงว่ายิงมาหลายครั้ง และมีเหรียญของหลวงพ่อวางอยู่ในจานข้างที่นอนซึ่งปกติเหรียญนี้ไม่เคยถอดออกจากคอเลย เมื่อทราบว่าหลวงพ่อท่านพระครูสร้างวัตถุมงคลอีกครั้งเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อต่างก็มาร่วมทำบุญสร้างเสนาสนะกับหลวงพ่อพระครู ท่านก็มอบเหรียญให้เป็นที่ระลึก ผู้มี่มาเจิมรถยนต์ อาบน้ำมนต์ นิมนต์ไปทำบุญในหมู่บ้าน หลวงพ่อก็มอบเหรียญให้เป็นที่ระลึกเกือบทุกคน เหรียญสร้างไม่นานก็หมดลงไปอีก คณะศิษย์ คณะกรรมการวัดก็มาขออนุญาติ ให้หลวงพ่อสร้างเหรียญอีก โดยมีผู้ศรัทธาสร้างได้ใน พ.ศ. 2511 นายช่างมาดำเนินการสร้างเหรียญรุ่นที่สาม ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ลักษณะห่มดอง มีตัวหนังสือ ด้านบนว่า พระครูนวการโฆษิต ด้านหลังเป็รูปยันต์ใบพัด คือ อุ มะ อะ และยันต์ อื่นๆ ต่างๆ ด้านล่าง เป็น พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นเหรียญเนื้อ อัลปาก้า ทองแดง และ กะหลั่ยทอง เมื่อสร้างเสร็จหลวงพ่อพระครูท่านปลุกเสกเดี่ยวจนพอใจก็แจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาเหมือนทุกครั้ง แต่ใน พ.ศ. 2511 นี้การสร้างพิเศษกว่าทุกครั้ง คือการสร้างแหวนสำหรับผู้ชายจำนวน 2,000 วง แหวนสำหรับผู้หญิง 1,000 วง เหรียญอัลปาก้า 2,000 เหรียญ เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง 5,000 เหรียญ และมีผ้ายันต์สีแดง และสีขาวด้วย สำหรับติดบ้าน และติดรถยนต์ เมื่อปลุกเสกเดี่ยวจนพอใจหลวงพ่อพระครูก็แจกเหมือนเดิม ไม่ช้าเหรียญและวัตถุมงคลอื่นๆ ก็หมดไปจากวัดหาดสองแคว เมื่อเหรียญรุ่นที่ 3 หมด ก็มีผู้มีจิตศรัทธาอยากสร้างเหรียญ เพื่อให้หลวงพ่อไว้แจกแก่ผู้มีจิตศรัทธาในหลวงพ่อท่านพระครู เพราะวัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างไว้ก็หมดไปจากวัดแล้ว หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์์ เห็นความตั้งใจจริงของศิษย์จึงอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลรุ่น 4 เป็นเหรียญทองแดงรมดำเพียงอย่างเดียวสร้างในพ.ศ. 2513 แต่มีจำนวนน้อยมาก และหายากมากส่วนมากจะตกไปอยู่ที่อื่น เพราะศิษย์สร้างแล้วก็ได้นำไปแจกจ่ายที่อื่นๆ เหลือเหรียญอยู่วัดหาดสองแควให้หลวงพ่อแจกจ่ายญาติโยมไม่มากนักและหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ได้นำเหรียญ รุ่นนี้ใส่ย่ามไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี 2513 ด้วย เนื่องจากมีของน้อย ท้องที่จึงค่อนข้างจะหายาก ใน พ.ศ. 2516 ปีนี้ คณะศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธาในปสาทะของหลวงพ่อท่านพระครูนวการโฆษิต ได้ขออนุญาตท่านสร้างวัตถุมงคลอีกครั้งเป็นเหรียญ รุ่นเสาร์ห้า เป็นรูปลักษณะหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ห่มจีวร คลุม ด้านหลัง เป็นยันต์ และมี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิล เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มากนัก ผู้มีจิตศรัทธาสร้างมาให้หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ปลุกเสก โดยใช้ทุนส่วนตัวมาให้เอง พ.ศ. 2518 เฮียโซ้ หรือคุณประกิติ ทายะบวร หนึ่งในคณะศิษย์ของหลวงพ่อ มีความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อท่านพระครู ได้สร้างกิเลนเงิน กิเลนทอง ตัวผู้ เนื้อเงิน ประมาณ 79 ตัว จำนวน เท่าอายุ หลวงพ่อจันทร์ เนื้อกะหลั่ยทอง จำนวน 919 ตัว ด้านฐานจะเป็นรูปตรางจีน เนื้อเงินใต้ฐานตอกโค๊ด 2 โค๊ด ส่วนเนื้อกะหลั่ยทอง ตอกโค๊ดเดียว เปิดจอง ปลายปี 2518 รับของ วันที 29 มกราคม 2519 ตรงกับวันฉลอง ตรุษจีน พอดี (อ้างอิงจากหนังสือพระเก่า หนังสืออภินิหารพระเครื่อง )ซึ่งครั้งนี้ เอง ที่เป็นการจุดประกาย ถือกำเนิด การสร้าง กิเลน สัตว์เทพสวรรค์ ชั้นสูง สุดยอดวัตถุมงคลชั้นสูง ต้นตำหรับของกิเลนไทย นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้มี การสร้างกิเลน สัตว์เทพสวรรค์ชั้นสูง ที่นำมามอบให้ หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ได้ปลุกเสก ในโอกาสฉลองพระอุโบสถหลังใหม่ที่แล้วเสร็จ หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์์ ได้นำกิเลนเงิน กิเลนทอง ตัวผู้ เนื้อเงิน ประมาณ 79 ตัว จำนวน เท่าอายุ หลวงพ่อจันทร์ เนื้อกะหลั่ยทอง จำนวน 919 ตัว ด้านฐาน จะเป็นรูปตรางจีน เนื้อเงินใต้ฐานตอกโค๊ด 2 โค๊ด ส่วนเนื้อกะหลั่ยทอง ตอกโค๊ดเดียว เข้าพิธีปลุกเสกเดี่ยวในพระอุโบสถ จนพอใจแล้วแจกจ่ายให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างเสนาสนะกับวัดหาดสองแคว ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามี เกจิอาจารย์ท่านใด สร้างและปลุกเสก กิเลนสัตว์เทพสวรรค์ ชั้นสูง สุดยอดวัตถุมงคลชั้นสูง นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้มี การสร้างกิเลน สัตว์เทพสวรรค์ชั้นสูง นั่น คือ กิเลนเงิน กิเลน ทองนำโชค ของหลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน อุตรดิตถ์ เท่านั้น เกจิอาจารย์ท่านอื่นจะมีสร้าง ก็แต่ เสือ สิงห์ คชสิงห์ หมู ลิง พญานาค พญาครุฑ หงส์เงิน หงส์ทอง นกสาลิกา และอื่นๆ เป็นต้น ต่อมา มีคณะศิษย์ หลวงพ่อคูณ ได้สร้างกิเลน เล่งเบ้ รุ่นนำโชค คุ้มภัย ซึ่งถอดแบบจาก กิเลน หลวงพ่อจันทร์ ให้ หลวงพ่อคูณ ปลุกเสก ซึ่งจะมีขนาดย่อมกว่า ที่ฐานจะมี ตัวหนังสือว่า หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ พ.ศ.2538 ซึ่งอายุการสร้างกิเลน ระหว่าง กิเลน หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ กับ กิเลน หลวงพ่อคูณ ห่างกัน ถึง 20 ปี เลยทีเดียว กิเลนตัวผู้ของท่านหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ ได้รับความนิยมอย่างมากมาย ในหมู่คณะของผู้ที่ค้าขายหรือประกอบธุระกิจเมื่อได้กิเลนไปแล้วก็ทำมาค้าขึ้น จึงได้เรียกร้องให้สร้างกิเลนตัวเมียอีก ดังนั้น พ.ศ. 2519 หลวงพ่อท่านพระครูจึงอนุญาตให้สร้างกิเลนตัวเมียอีกจำนวน 999 ตัว ที่ฐานเป็นรูป ตรางจีน และตอกโค๊ดที่ใต้ฐาน เช่นเดียวกับ กิเลนตัวผู้ เพื่อเข้าคู่กับกิเลนตัวผู้ ซึ่งกิเลนชุดนี้เรียกต่อมาว่ากิเลนเงิน กิเลนทองนำโชค และในโอกาสสร้างกิเลนตัวเมียก็ได้สร้างเหรียญรุ่นที่ 6 ในพ.ศ. 2519 เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า และทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อเงินไม่มาก นัก ในพ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่อท่านพระครูอายุครบ 80 ปี พรรษา 58 พรรษา ทางธนาคารได้ขออนุญาตจากหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำเป็นของที่ระลึกในการเปิดธนาคารหลวงพ่อท่านพระครูท่านอนุญาต ซึ่งการสร้างวัตถุรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ 7 รุ่นสุดท้าย วัตถุมงคลที่สร้างมีเหรียญทองคำจำนวน 10 เหรียญ เหรียญเงิน จำนวน 1,000 เหรียญ เหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง จำนวน 2,000 เหรียญ เหรียญทองแดงรมดำ จำนวน 10,000 เหรียญ ภาพถ่ายขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว และขนาดโปสการ์ด รูปหล่อจำลองของหลวงพ่อขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว หล่อด้วยโลหะ จำนวนไม่มากนัก การสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้แปลกกว่าการสร้างทุกครั้งคือ นอกจากหลวงพ่อท่านพระครูท่านจะได้ปลุกเสกเดี่ยวแล้วยังได้มีพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง โดยนิมนต์เกจิอากจารย์ชื่อดังร่วมสมัยจากทั่วประเทศไทยมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก เช่นพระนิมมานโกวิท นอกจากสร้างเหรียญแล้วยังได้สร้างกิเลนทองนำโชคตัวผู้ตัวเมียรุ่นสอง อีก 1,000 คู่ ที่ฐานจะมีตัวหนังสือว่า หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ พระสิวลี แหนบติดกระเป๋า วัตถุมงคลของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต เมื่อสร้างแล้วได้รับความนิยมจากผู้มีจิตเลื่อมใสใน ปะสาทะ ของหลวงพ่อท่านพระครูทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น นายห้างเซ็นทรัล กรุงเทพฯ ศรัทธาในหลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ อย่างสูงสุด ทางวัดหาดสองแคว จะก่อสร้างสิ่งใดหรือประสงค์สิ่งใด เมื่อทราบข่าวก็จะมาช่วยเหลือสนับสนุนทันที เช่นจัดผ้าป่าบ้าง กฐินบ้าง ตามแต่โอกาส โดยมากจะพาคณะญาติ เพื่อน ๆ มาทำบุญที่วัดหาดสองแควเกือบทุกปี อย่างเช่นในโอกาสวัดหาดสองแควตัดลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งหลวงพ่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 มาสำเร็จในพ.ศ. 2520 และมีวิสุงคามสีมาตัดลูกนิมิตในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520 นายห้างเซ็นทรัล กรุงเทพ คณะญาติ เพื่อน ๆ ได้ถวายพระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อท่านพระครูจันทร์ได้ตั้งพระนาม พระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ อันเป็นมงคลว่า พระพุทธมงคลจิราธิวัตน์สุทธิเลิศฤทธิ์ ซึ่งอันมี ชื่อนามสกุล นายห้างเซ็นทรัล จิราธิวัตน์ รวมอยู่ด้วย จะขอเล่าประสบการณ์จากวัตถุมงคลหลวงพ่อท่านพระครูพอสังเขปดังต่อไปนี้ จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน อดีตผู้ใหญ่บ้านชำทอง หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแก่ง อ.ตรอน อุตรดิตถ์ว่า ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ก็ได้รับเหรียญรุ่นแซยิด อายุครบ 80 ปี ของหลวงพ่อท่านพระครู พ.ศ.2520 จากหลวงพ่อท่านพระครูเหรียญหนึ่ง ก็ได้มอบให้บุตรชายคนเล็ก ซึ่งกำลังอยู่ในวัยหนุ่ม ไว้ป้องกันตัว ซึ่งบุตรชาย ของผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ได้แขวนเหรียญนี้อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งบุตรชายของ ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ได้กินเหล้ากับพรรคพวกจนเมามาย จึงเดินทางกลับมาบ้าน ต้องข้ามทางรถไฟ ด้วยความมึนเมาไม่ทันได้สังเกตุเห็นว่ามีรถไฟสปินเตอร์ ด่วนพิเศษ กำลัง แล่นมา จึงข้ามทางรถไฟอย่าง กระชั้นชิด จึงถูกรถไฟ ชนกระเด็นไปหลายวา เพื่อนๆก็วิ่งไปช่วยกันดู ปรากฎว่าบุตรชายของ ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ตายคาที่ ขณะถูกถูกรถไฟ ชนกระเด็น อย่างแรง แต่สภาพศพไม่มีบาดแผลแม้แต่นิดเดียว แต่ร่างกายทนต่อแรงถูกรถไฟ ชนกระเด็น อย่างแรงจากความเจ็บปวดไม่ไหว เพราะกระดูกหักน่วมไปหมดทั้งตัว แต่ไม่ปรากฎบาดแผล อุ้มขวางอกไม่ได้เลย น่วมกระดูกแหลกละเอีอดไปหมด ดังนั้น ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน นำติดตัวมาโดยตลอด เพราะได้เห็นประสบการณ์ประจักษ์มาแล้ว จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตของผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ปัจจุบันเหรียญนี้ได้ตกอยู่กับ บุตรชาย คนที่ 2 ของ ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน ประสบการณ์อีกเรื่องจาก กิเลนเงิน กิเลนทอง นำโชค ซึ่ง เฮียโซ้ หรือ คุณประกิติ ทายะบวร หนึ่งในคณะศิษย์ของหลวงพ่อ มีความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อท่านพระครู ได้สร้างกิเลนตัวผู้ เนื้อเงิน ประมาณ 79 ตัว เนื้อกะหลั่ยทอง จำนวน 799 ตัว มามอบให้หลวงพ่อท่านพระครูได้ปลุกเสก ในโอกาสฉลองพระอุโบสถหลังใหม่ที่แล้วเสร็จ หลวงพ่อท่านได้นำกิเลนตัวผู้เข้าพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถ จนพอใจแล้วแจกจ่ายให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างเสนาสนะกับวัดหาดสองแคว และนำกิเลนตัวผู้ บางส่วนนำมาแจกจ่ายเพื่อนฝูงในกรุงเทพฯไว้สักการะบูชา มีคหบดีคนหนึ่ง เมื่อได้รับกิเลนเงิน กิเลนทอง นำโชค ไปแล้วปรากฎว่าประการธุรกิจ เจริญเติบโตมีความคล่องตัว ดีกว่า แต่เดิมมากมาย พอดีมีเพื่อนพ่อค้าชาวฮ่องกงเดินทางมาประเทศไทย ได้เล่าให้ฟังว่ากำลังเดือดร้อนในธุรกิจการค้าขายด้วยกันอีกแล้ว เพราะกิจการกำลังทรุดอย่างหนัก คิดว่าคงไม่สามารถกอบกู้ฐานะทางเศรษฐกิจคืนมาได้อีกแน่ คหบดีในกรุงเทพฯผู้นั้นจึงได้มอบกิเลนทองนำโชคให้ไปบูชา พ่อค้าฮ่องกงผู้นั้นกำลังหมดที่พึ่ง เมื่อได้นำกิเลนทองนำโชคไปกราบไหว้บูชาตามที่ได้รับคำแนะนำ ก็เกิดมีกำลังใจมุมานะในการทำงานการค้า อยู่มาไม่นานกิจการค้าที่ทรุดลงไปก็กลับเจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม สามารถกู้กิจการคืนมาได้อย่างอัศจรรย์ ในโอกาสต่อมาพ่อค้าชาวฮ่องกงผู้นั้นได้มีโอกาสมาเมืองไทยอีก ยังได้ให้คหบดีผู้ที่เคยให้กิเลนทองนำโชค หากิเลนทองของท่านพระครูไปให้ญาติและเพื่อนในฮ่องกงได้บูชาด้วย วาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต อายุ 82 ปี พรรษา 60 พรรษา หลวงพ่อเริ่มมีอาการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะแต่ด้วยที่หลวงพ่อพระครูท่านไม่ค่อยได้พักผ่อนต้องคอยช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ไม่มาอาบน้ำมนต์ก็เจิมรถยนต์ ผูกข้อมือ ไปทำบุญงานต่างๆ ทั้งใกล้และไกลจนอาพาธ ในวันที่ 28 มกราคม 2522 อาการของโรคกำเริบขึ้นมากจนน่าวิตก แต่หลวงพ่อก็ยังไม่เป็นไรอยู่นั่นเอง ใครมาหาก็สงเคราะห์ จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2522 คณะศิษย์ คณะสงฆ์ ได้พาหลวงพ่อพระครูไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน จังหวัดแพร่ แพทย์ตรวจอาการวินิจฉัยว่า หลวงพ่อพระครูท่านป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ และเป็นวัณโรคที่ปอดอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแพร่ คริสเตียนหลายวัน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น คณะสงฆ์ คณะศิษย์ จึงได้พาหลวงพ่อพระครูไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปาโล ซึ่งดีที่สุดในขณะนั้น ที่โรงพยาบาลเปาโลคณะแพทย์ได้ทำการผ่าตัดต่อมลูกหมาก เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2522 รักษาจนอาการ ดีขึ้น หลวงพ่อขอเดินทางกลับมาพักรักษาตัวที่วัดหาดสองแควเมื่อมาถึงวัดหาดสองแคว ญาติโยม ศิษย์ และประชาชนทั่วไปก็มากราบนมัสการกันไม่ขาดสาย บ้างก็มาขอให้หลวงพ่ออนุเคราะห์ต่างๆ แม้แต่ต้องพยุงหลวงพ่อไปก็ยอม หลวงพ่อทำให้ทั้งนั้น ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน จนคณะศิษย์ที่เฝ้าปฏิบัติหลวงพ่อต้องขอห้ามไม่ให้หลวงพ่อรับนิมนต์ และกิจต่างๆ แต่หลวงพ่อพระครูไม่ยอม จะทำให้ได้ ทำให้อาการอาพาธของหลวงพ่อกำเริบขึ้น ในที่สุดหลงพ่อก็ไม่อาจเอาชนะโรคพยาธิได้ก็มรณะอย่างสงบ ณ. ที่วัดหาดสองแคว ในวันที่ 8 สิงหาคม 2522 สิริรวมอายุ 82 ปี พรรษา 60 พรรษา เวลา 24.40 น. เป็นไปตามกฎของวัฏฏะแห่งชีวิต ที่ไม่มีผู้ใดหลีกพ้นได้ การพัฒนาเสนาสนะของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต อดีตเจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่ได้อุปสมบทในพระบวรพระพุทธศาสนาหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต มุ่งมั่นแต่สร้างความดี ทั้งช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ก่อสร้างสาธารณะสมบัติเสนาสนะ พอจะสรุปดังนี้ 1. พ.ศ. 2466 สร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 9 วา ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 16,825.30 บาท 2. พ.ศ. 2471 ได้ก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม 1 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 6 วา สิ้นค่าก่อสร้าง 8,665.205 บาท 3. พ.ศ. 2477 สร้างเสนาสนะในวัดใหม่เกือบหมด เพราะในปีนี้ได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ ห่างจากวัดเดิม ประมาณ 400 เมตร เพราะเหตุตลิ่งของแม่น้ำน่านพัง 4. พ.ศ. 2475 สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 9 วา 2 ศอก ยาว 15 วา ก่อสร้างด้วยไม้หลังคามุงกระเบื้อง สิ้นค่าก่อสร้าง 34,225.75 บาท 5. พ.ศ. 2486 สร้างกุฏิ จำนวน 2 หลัง กว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา สิ้นค่าก่อสร้างจำนวนเงิน 13,212.50 บาท 6. พ.ศ. 2489 สร้างหอสวดมนต์ 1 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา ทำด้วยไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง 7,256.50 บาท 7. พ.ศ. 2497 สร้างกุฏิ จำนวน 2 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา จำนวน 1 หลัง และกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 9 วา สำเร็จในปี 2520 สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 21,55.75 บาท 8. พ.ศ. 2514 ได้สร้างอุโบสถทดแทนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 9 วา สำเร็จในปี พ.ศ. 2520 สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 3,000,000 บาท 9. พ.ศ. 2518 ได้ก่อสร้างวัดหาดสองแควได้รับอนุมัติจากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง 10. พ.ศ. 2519 ได้ก่อสร้างกำแพงรอบบริเวณวัดหาดสองแคว เป็นความยาว 200 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 107,000 บาท 11. พ.ศ. 2520 ได้ก่อสร้างถังเก็บน้ำประปา จำนวน 2 ถัง สิ้นค่าก่อสร้าง 48,612.50 บาท 12. พ.ศ. 2520 ได้ก่อสร้างซุ้มประตูเข้าวัดหาดสองแคว สิ้นค่าก่อสร้าง 129,000 บาท จะเห็นว่าในชีวิตของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต มีการกระทำแต่ความดี ก่อสร้างสาธารณะสมบัติไว้ให้ลูกหลานได้สืบพระพุทธศาสนา ท่านได้จตุปัจจัยต่าง ๆ ท่านจะมอบให้คณะกรรมการวัดทั้งหมด ในวันที่หลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต(จันทร์) มรณภาพนั้น จากคำบอกเล่าของคุณสมพงษ์ ทองสวรรค์ ในย่ามของหลวงพ่อพระครูมีเงินเหรียญบาท อยู่ประมาณ 20 เหรียญ เท่านั้น ในห้องของท่านไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ มีเพียงตู้หนังสือ และตู้เก็บของเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นเอง และมีหีบหนังสือเก่า ๆ อีกหนึ่งใบเท่านั้นที่เป็นสมบัติของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต วัดหาดสองแควเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) ซึ่งอุปสมบทเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2511 โดยมีหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต(จันทร์) ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทที่วัดหาดสองแคว เมื่อหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต(จันทร์)ได้มรณภาพแล้ว ได้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2522 และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2523 ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2532 และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหาดสองแควอีก ตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2534 เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันเป็นพระนักพัฒนาพัฒนาทั้งคนและวัตถุ การพัฒนาคนของท่าริเริ่มจากเทศนาสั่งสอน โดยจัดให้มีโครงการปริยัตินิเทศ โดยออกไปให้ความรู้นักเรียน ครู ประชาชน ตามโรงเรียน วัด อย่างสม่ำเสมอ จากการกระทำความดี มีธรรมะของท่านพระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) ได้รับการยกย่อง เช่น 1. ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ให้ พระครูมงคลสิริวิธาน ยกย่องเชิดชูเกียรติด้านพัฒนาชุมชน โดยหลักธรรมของพระพุทธศาสนา 2. ได้รับประกาศนียบัตรบุคคลดีเด่น ประจำปี2533 จากสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย เป็นพระนักพัฒนา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นผู้มอบใบประกาศให้ 3. ได้รับรางวัลนักพัฒนาดีเด่น จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ นอกจากการพัฒนาในด้านจิตใจแล้ว ท่านพระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ)ยังได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต(จันทร์) โดยปรับปรุงก่อสร้าง เสนาสนะในวัดหาดสองแควมากมาย เช่น 1. บูรณะปฏิสังขารณ์กุฏิ จำนวน 4 หลัง โดย เปลี่ยนหลังคาใหม่ สร้างกุฏิรับรองอีก 1 หลัง ปรับปรุงกุฏิโดยเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง ก่อผนังฉาบปูน สร้างห้องน้ำ เงินค่าก่อสร้างปรับปรุง ทั้งสิ้น 864,450 บาท 2. สร้างประปาในวัด โดยจัดทำถังประปาสูง 12 เมตร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เดินท่อประปาพร้อมทั้งดำเนินการสร้างซุ้มประตูต่ออีก าก่อสร้าง ทั้งสิ้น จำนวน 181,611 บาท 3. สร้างถนนในวัดหาดสองแคว สร้างเป็นถนนคอนกรีต สร้างกำแพงรั้วต่อเติมจนรอบวัดหาดสองแคว าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 171,500 บาท 4. ต่อเติมศาลาการเปรียญ โดยเทพื้นคอนกรีตก่อผนัง ติดลูกกรงเหล็ก สำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาบวชศีลจาริณี ซึ่งทางวัดหาดสองแควจัดเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง คือระหว่าง 11-13 มีนาคม และ 11-13 สิงหาคม ของทุกปี ก่อสร้าง ทั้งสิ้น 792, 112 บาท 5. สร้างเมรุเผาศพ ลักษณะทรงมณฑป ประดับลายไทย กว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร ค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 1,345,560 บาท 6. สร้างวิหารเพื่อประดิษฐานรูปหล่อจำลองของหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต(จันทร์) ทรงไทย กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร ค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 596,869 บาท 7. สร้างศาลาเอนกประสงค์ ลักษณะทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 386,390 บาท 8. สร้างหอระฆัง ทรงไทยจตุรมุข 3 ชั้น กว้าง 3 เมตร สูง 14 เมตร ค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 153,229 บาท 9. สร้างกองอำนวยการ ทรงไทยชั้นเดียว กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร ค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 122,322 บาท จะเห็นได้ว่า ลูกไม้นั้นย่อมหล่นไม่ไกลต้น ทั้งหลวงพ่อพระครูนวการโฆษิต (จันทร์ โฆสโก) และท่านพระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) ต่างก็มีจิตในแน่วแน่ในการพัฒนา บำรุงพุทธศาสนา ขอให้ดวงวิญญาณของท่าน พระครูนวการโฆษิต(จันทร์ โฆสโก) ที่สถิตในสรวงสวรรค์จงมีแต่ความสุข แผ่บารมี ศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองเหล่าศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และจงดลบันดาลให้พระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คิดสิ่งหนึ่งประการใดในการเสริมสร้างทนุบำรุงพระพุทธศาสนา จงสำเร็จทุกลุล่วงประการเทอญ ขอขอบคุณ ผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ให้ข้อมูลในการเขียนประวัติของท่านพระครูนวการโฆษิต (จันทร์ โฆสโก) มีดังนี้ คุณยายตู้ พุ่มไสว น้องสาวของท่านพระครูนวการโฆษิต(จันทร์ โฆสโก) หลวงพ่อพระครูมงคลสิริวิธาน(บุญเลิศ) เจ้าอาวาสวัดหาดสองแควองค์ปัจจุบัน ศิษย์เอก ท่านพระครูนวการโฆษิต(จันทร์ โฆสโก) กำนันสวาท เรืองเดช ผู้ใหญ่วุฒิ สุขก้อน คุณไฉน หวังสืบ คุณสมพงษ์ ทองสวรรค์ คุณพ่อผาด สีคำ และข้อมูลจากหนังสือมหาอุตม์ โดย คุณสมภัก อุตรดิตถ์ และ อีก หลายๆท่าน ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ต่างๆ ขอให้ท่านทั้งหลายที่ช่วยอนุเคราะห์จงประสบแต่โชคดีทุกท่าน |