ร้านเบ็นซ์ แผ่นดินทอง 
กลับหน้าหลักเว็ปพระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์
พระหลัก ทุกองค์ของเราผ่านงานประกวดของสมาคมทุกองค์นะครับ 🙏🙏 ยินดีตอนรับเข้าสู่ร้านแผ่นดินทอง 🙏🙏 ทางร้านเราให้บริการให้เช่าพระเครื่อง วัตถุมงคล 📢 และขอรับประกันพระในร้านเราแท้ตลอดชีพ 📢 ถ้าปลอมหรือเก๊เรายินดีคืนเงินให้เต็มจำนวนเท่าที่เช่าจากร้านเราไป ✌ แต่พระต้องอยู่ในสภาพเดิมไม่ชำรุด หักปิ่น เสียหาย ล้างผิว 🌟🌟🌟สิ่งสำคัญที่สุดทางร้านเราจะเน้นมิตรภาพ สัจจะคำพูดเหนือสิ่งอื่นใด 🌟🌟🌟 ความจริงใจที่เรามีให้ต่อผู้ที่มาเช่าเราครับต้องมาก่อนเสมอ 👍👍ประกันพระจากความจริงใจ ของร้านเราครับ🚂🚃🚃🚃🚃💨💨🙏🙏🙏 ยินดีรับทุกสายครับ ^^ ซื่อกินไม่หมด คตกินไม่นาน^^
 หน้าร้านค้าเบ็นซ์ แผ่นดินทอง  
ชื่อพระเครื่อง : เหรียญชินราชปี 14 วัดวังทอง พิธีดี
ประเภทพระเครื่อง : เลือกประเภทพระเครื่อง
ราคา : 500
สถานะ :
เปิดให้เช่าวันที่ : 11 ม.ค. 59 - 14:02:13
เบอร์โทรติดต่อ : ais 089-8392205 D.Line benz99999999
รายละเอียดพระเครื่อง : **หมายเหตุ ราคาลงวันที่ 18/01/2558 หลังจากนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง เหรียญที่ระลึกพระพุทธชินราช วัดวังทอง พิษณุโลก ที่ระลึกในงานสร้างโบสถ์ พระประทาน ๒๑ ม.ค. ๑๔ เหรียญชินราช ออกวัดวังทอง ปี2514 หลวงพ่อพันธ์ร่วมปลุกเสก เหรียญรุ่นนี้เป็นที่นิยมอย่างสูงอันเนื่องจากการที่หลวงพ่อพันธ์ วัดบางสะพาน ยอดเกจิแห่งเมืองพิษณุโลกเข้าร่วมพิธีปลุกเสก พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดวังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2514 เวลา 17.41 น. โดย สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอาคมขลังลงเลขยันต์และนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี จ.นครศรีธรรมราช, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม., หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย จ.สุโขทัย, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.ปทุมธานี, หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม ฯลฯ อีกทั้ง หลวงพ่อพันธ์ วัดบางสะพาน อ.วังทอง จ.พิษณุโลก พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองพิษณุโลกร่วมปลุกเสก (เจ้าของพระ : เบ็นซ์ แผ่นดินทอง) ประวัติพระพุทธชินราช พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย และได้รับการขนานนามว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นมาแทน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์ ประวัติ พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล จึงมีตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2409 โดยอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเหนือ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดียุติได้ ดังนี้ คือ พระพุทธชินราช สร้างโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในตำนานพระพุทธชินราชฯ เรียกพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยสร้างพระพุทธรูปพร้อมกัน 3 องค์ เพื่อประดิษฐานในพระวิหารทิศ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 1900 ในตำนานพระพุทธชินราชฯ มีชื่อช่างหล่อพระพุทธชินราชเป็นช่างพราหมณ์ฝีมือดี 5 นาย คือ บาอินท์ 1 บาพรหม 1 บาพิษณุ 1 บาราชสังข์ 1 บาราชกุศล 1 ตำนาน ตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 4 ในพระราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. 1900 ทรงโปรดให้ช่างสวรรคโลก ช่างเชียงแสน และช่างหริภุญไชย สมทบกับช่างกรุงศรีสัชนาลัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ได้แก่ พระศรีศาสดา พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะจุลศักราช 717 ราว พ.ศ. 1898 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ เมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว และทำการแกะพิมพ์ออกปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระสมบูรณ์สวยงามดี ส่วนพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อถึง 3 ครั้งก็ไม่เสร็จเป็นองค์พระได้ กล่าวคือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง ครั้งนั้นจึงร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้าจึงนฤมิตเป็นตาปะขาวลงมาช่วยทำรูปพระ คุมพิมพ์ปั้นเบ้า ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองก็แล่นรอบคอบบริบูรณ์ทุกประการหาที่ติมิได้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสให้หา "ตาปะขาว" ผู้นั้น แต่ตาปะขาวได้หายตัวไปแล้ว หมู่บ้านและวัดที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื่องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้ บทสวดบูชาพระพุทธชินราช อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ ประเพณี ประเพณีสรงน้ำประจำปีในเทศกาลสงกรานต์ ในอดีตเคยมีประเพณีการห่มผ้าองค์หลวงพ่อแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำให้องค์พระชำรุด (ข้อมูลประวัติพระพุทธชินราช : วิกิพีเดีย)