ร้านอ้น โลตัส Aon Lotus 
กลับหน้าหลักเว็ปพระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์
ยินดีต้อนรับท่านสมาชิกที่ชอบและหลงใหลในศีลปะของพระเครื่องอันล้ำค่าถือเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาซึ่งดำรงอยู่ต่อไป @ อ้นโลตัส อุตรดิตถ์ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยจากใจจริงครับ! และขอขอบคุณทุกๆท่านที่มาอุดหนุน และยังรับเช่า-ให้เช่า(พระเครื่องสายอุตรดิตถ์)ในราคาประทับใจ รับประกันความแท้ตามมาตราฐานสากลยอมรับ อุ่นใจที่ท่านได้ใช้ของดีของแท้ครับ ขอขอบคุณครับ! เงื่อนไขการรับประกัน 1. รับประกันพระแท้ตลอดชีพ? 2.รับประกันความพอใจเพียง 3 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับพระ (หากเก๊ยินดีคืนเต็มจำนวนไม่หักเปอร์เซ็นต์ และพระต้องคงสภาพเดิมด้วย ครับ) **กลั่นกรอง เน้นสวย รับประกันพระแท้ทุกองค์ ราคามาตราฐาน เช่าแล้วสบายใจ**
 หน้าร้านค้าอ้น โลตัส Aon Lotus  
ชื่อพระเครื่อง : เหรียญพระยาพิชัยดาบหักรุ่นแรก 2513 (หลวงปู่ทิมเข้าร่วมปลุกเสกและเกจิผู้เรืองเวทย์หลายท่าน)
ประเภทพระเครื่อง : 03.เหรียญปั๊มก่อนปี 2525
ราคา : -
สถานะ :
เปิดให้เช่าวันที่ : 12 มิ.ย. 60 - 10:40:03
เบอร์โทรติดต่อ : 0856030079
รายละเอียดพระเครื่อง : พระยาพิชัยดาบหักเดิมชื่อ “จ้อย” เกิดที่บ้านห้วยคา หลังเมื่อพิชัยไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เส้นเศษ บิดามารดาตั้งบ้านเรือนไถนาหาเลี้ยงชีพ มีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เป็นไข้ทรพิษตายคราวเดียวกัน 3 คน เหลือจ้อยคนเดียว เมื่อจ้อยอายุได้ 8 ขวบ บิดาให้เลี้ยงควาย และชอบชกมวยมาก บิดาจึงนำตัวไปฝากท่านพระครูวัดมหาธาตุในเมืองพิชัย เพื่อเรียนหนังสือจนอายุอย่างเข้า 14 ขวบ ก็อ่านออกเขียนได้ ในขณะที่อยู่ที่วัดมหาธาตุนั้น จ้อยชอบดูการชกมวยมาก และเมื่อมีเรื่องชกต่อยกับเด็กวัดด้วยกัน จ้อยก็สามารถเอาชนะได้ทุกคน ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตรชายชื่อ เจิด กับเด็กคนใช้อีก 3 คนมาฝากท่านพระครูเรียนหนังสือ ต่อมาเกิดวิวาทชกต่อยกัน จ้อยเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเจิดเป็นบุตรชายเจ้าเมืองพิชัย จึงหนีไปบ้านท่าเสาเพื่อไปหัดมวยที่นั่น ระหว่างทางที่เดินทางมาถึงวัดบ้านแก่ง เห็นครูเที่ยงกำลังสอนมวยอยู่จึงสมัครเป็นศิษย์ เนื่องจากเกรงว่าจะมีคนจำชื่อได้ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ทองดี” เมื่อหัดมวยจนฝีมือเป็นเลิศกว่าคนอื่นแล้ว ครูเที่ยงจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ทองดีฟังขาว” ต่อมาศิษย์ครูเที่ยงอีก 4 คน เกิดอิจฉาจนเกิดเรื่องชกต่อยกัน นายทองดีเห็นว่าอยู่ไปก็ไม่มีความสุข จึงขอลาครูเที่ยงเดินทางติดตามพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งจะไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ โดยไปพักอยู่ที่วัดบางเตาหม้อ อยู่ที่วัดบางเตาหม้อไม่นานนักก็ลาพระภิกษุไปหาครูมวยที่ท่าเสาชื่อครูเมฆ เพื่อขอเป็นศิษย์ฝึกหัดมวย จนสำเร็จการมวย ในระหว่างนี้นายทองดีอายุได้ 18 ปี ได้แสดงความสามารถติดตามผู้ร้ายที่เข้ามาลักความครูเมฆ โดยฆ่าคนร้ายตาย 1 คน และจับคนร้ายที่ยังไม่ตายได้อีก คน โดยนำมามอบให้กรมการตำบลบางโพท่าอิฐ กรมการตำบลบางโพท่าอิฐชมเชยนายทองดีและให้บำเหน็จ 5 ตำลึง\\n นายทองดีได้มีโอกาสแสดงฝีมืออีกครั้งหนึ่ง ด้วยการชกมวยในงานมหรสพฉลองพระแท่นศิลอาสน์ โดยชกชนะนายถึก(ศิษย์ครูนิล) และยังชนะครูนิลอีกด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีนักมวยคนใดในแขวงเมืองพิชัย เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแล และเมืองฝางมาขันสู้กับนายทองดีเลย ต่อมาอีก 3 เดือนพระสงฆ์เมืองสวรรคโลกชวนนายทองดีไปเมืองสวรรคโลก และได้ฝากนายทองดีกับครูฟันดาบผู้ฝึกบุตรเจ้าเมืองสวรรคโลก ได้ฝึกหัดอยู่ประมาณ 3 เดือน ก็ทำได้คล่องแคล่วทุกท่าทางจนจบหลักสูตร ทั้งยังได้ซ้อมฟันดาบกับบุตรชายเจ้าเมืองสวรรคโลกด้วย นายทองดีได้ลาครูฟันดาบเดินทางไปยังสุโขทัยขอสมัครเป็นศิษย์กับครูจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งเพื่อฝึกมวยจีน และฝึกอยู่จนสำเร็จ ทั้งยังมีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อบุญเกิดด้วย ตอนนั้นนายทองดีและบุญเกิดอาศัยอยู่ที่วัดธานี อยู่วัดนี้ได้ประมาณ 6 เดือน ก็มีชาวจีนคนหนึ่งมาจากเมืองตาก เห็นฝีมือของนายทองดีจึงชวนไปเมืองตาก โดยเล่าว่าพระยาตากเจ้าเมืองมีความสนใจและชอบคนมีฝีมือ แต่ความจรงิต้องการชวนนายทองดีไปเป็นเพื่อน เพราะกลางกทางมีเสือดุ นายทองดีตกลงไปเมืองตาก โดยชวนบุญเกิดไปด้วย ระหว่างทางตอนกลางคืน เสือได้เข้ามาคาบบุญเกิดไป นายทองดีเข้าช่วยโดยต่อสู้กับเสือจนบาดเจ็บหนีไป และได้บุญเกิดคืนมาแต่บาดเจ็บมาก ต้องไปรักษาที่วัดใหญ่เมืองตากอยู่ถึง 2 เดือนจึงหาย\\n วันหนึ่งพระเจ้าตากมาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่ และมีมวยฉลองด้วย นายทองดีได้ชกกับครูมวยชื่อห้าว และสามารถเอาชนะได้ พระเจ้าตากอยากดูฝีมือนายทองดีอีก จะให้ชกกับครูมวยของท่านชื่อห้าว และสามารถเอาชนะได้ พระเจ้าตากจึงชอบใจฝีมือนายทองดีมาก ได้มอบรางวัลให้ 5 ตำลึง และรับตัวเข้าทำงานด้วย พระเจ้าตากโปรดปรานนายทองดีมาก\\n พอนายทองดีอายุ 21 ปี พระเจ้าตากก็จัดบวชให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ บวชอยู่ 1 พรรษาก็สึกออกมาอยู่กับพระเจ้าตากต่อไป พระเจ้าตากตั้งให้เป็น หลวงพิชัยอาสา และยังได้นางสาวรำยง สาวใช้ของคุณหญิงเป็นภริยาด้วย เมื่อพระเจ้าตากจะไปไหนมาไหนก็ให้หลวงพิชัยอาสาติดตามไปด้วยทุกครั้ง ต่อมาพระเจ้าตากได้รับท้องตรากระแสร์พระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้พระเจ้าตากไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงศรีอยุธยา จะโปรดเกล้าให้เป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาตามพระเจ้าตากไปด้วยก็พอมีพม่าข้าศึกยกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการและหลวงพิชัยอาสาก็อาสาเข้าช่วยรบพม่าภายในกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องด้วยมิได้รับความยุติธรรมและขาดความอิสระในการรบพุ่งพระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและพรรคพวก ซึ่งมีพระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนาหลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา และพลทหารตีฝ่าพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางผ่านเมืองปราจีนบุรี ระยอง จนถึงเมืองจันทบุรี รวบรวมผู้คน เสบียงอาหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมแล้ว จึงยกทัพเรืองลงมาตีเมืองธนบุรี ได้รบกับนายทองอิน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษามเอง จับนายทองอินประหารชีวิตเสีย สุกี้พระนายกองพม่าผู้รักษากรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้นได้ทราบข่าวจึงให้มองหย่าเป็นนายทัพคุมทหารมอญและทหารไทยมาตั้งรับอยู่บ้านเพนียด พระเจ้าตากจึงสั่งให้หลวงพิชัยอาสา เป็นนายทัพหน้ายกเข้าตี มองหย่ามีความเกรงกลัวฝีมือหลวงพิชัยอาสา จึงถอยทัพหนีไปมิได้ต่อสู้ พระเจ้าตากจึงสั่งให้หลวงพิชัยอาสาบุกเลยเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น ล้อมค่ายสุกี้พระนายกอง และรบกันอยู่ถึง 2 วัน ก็ตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก ตัวสุกี้พระนายกองตายในที่รบ เมื่อพระเจ้าตากได้ชัยชนะแล้ว ได้เข้าไปตั้งพลับพลาประทับอยู่ในพระนคร และได้เห็นปราสาทรวมทั้งตำหนักถูกเพลิงไหม้เสียมากต่อมาก จะซ่อมแซมใหม่ก็ยาก จึงชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรี เป็นราชธานี และทำพิธีปราบดาภิเษก เมื่อ พ.ศ.2311 ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” แต่มักเรียกกันว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” บ้าง “พระเจ้าตากสิน” บ้าง และโปรดฯ ให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกองครักษ์ในพระองค์\\n เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างเมืองธนุบรีเป็นราชธานีแล้ว จึงทรงดำเนินการปราบก๊กต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปราบได้ก๊กของกรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ที่พิมาย และโปรดฯ แต่งตั้งให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นพระยาสีหราชเดโช แล้วจึงเสด็จยกทัพไปปราบปรามก๊กฝ่ายเหนือ ปราบได้ก๊กเจ้าพระฝาง เมื่อ พ.ศ. 2313 แล้วโปรดฯ แต่งตั้งให้พระยาสีหราชเดโชเป็นพระยาพิชัย ให้ครองเมืองพิชัยต่างพระเนตร พระกรรณให้มีไพร่พล 9,000 คน ทั้งทรงกรุณาโปรดฯ พระราชทานเครื่องยศ ให้เสมอด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ และทรงแต่งตั้งนายบุญเกิดคนสนิทคนเดิมของพระยาพิชัยเป็นหมื่นหาญณรงค์เป็นนายทหารคนสนิทของพระยาพิชัยอีกด้วย เมื่อพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยนั้นได้ทราบว่าบิดาถึงแก่กรรมเสียแล้ว ยังอยู่แต่มารดา จึงใช้ให้นายไปตามตัวมาหา พอมารดามาถึงก็หมอบกราบไม่เงยหน้าดูเพราะความกลัวด้วยยังไม่ทราบว่าเป็นบุตรของตัว พระยาพิชัยรีบลุกไปจับมือมารดาไว้ห้ามไม่ให้กราบไหว้ พลางกราบลงกับเท้ามารดา แล้วเล่าเหตุการณ์ที่ได้ซัดเซพเนจรให้มารดาฟังตั้งแต่ต้นจนได้มาครองเมืองพิชัย เมื่อมารดาทราบว่าท่านเป็นบุตรก็ร้องไห้ด้วยความดีใจอย่างสุดปลื้ม แต่ก่อนชาวบ้านเรียกมารดาท่านว่านางนั่นยายนี่ ต้องกลับเรียกว่าคุณแม่ใหญ่ในจวนไปตามกัน ส่วนครูเที่ยงที่บ้านแก่งและครูเมฆที่บ้านท่าเสาพระยาพิชัยก็ตั้งให้เป็ฯกำนันทั้งสองคน เพื่อสนองคุณคนทั้งสองนั่นเอง\\n ในปลายปี พ.ศ.2313 นี้เอง โปมะยุง่วน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพชาวพม่าและชาวลานนาลงมาตีเมืองสวรรคโลก พระยาพิชัยก็ยกทัพเมืองพิชัยไปช่วยรบร่วมกับกองทัพเมืองพิษณุโลก ตีทัพพม่าแตกพ่ายหนีไป ต่อมาในปี พ.ศ.2315 โบสุพลาซึ่งมาอยู่ช่วยราชการรักษาเมืองเชียงใหม่นั้น ยกกองทัพมาตีเมืองลับแลแตก แล้วยกลงมาตีเมืองพิชัย ตั้งค่ายอยู่ ณ วัดเอกา พระยาพิชัยก็จัดแจงการป้องกันเมืองเป็นสามารถ จึงเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วยเมืองพิชัย และเจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัยยกพลทหารเข้าตีค่ายพม่า พม่าออกต่อรบ รบกันถึงอาวุธสั้น พลทัพไทยไล่ตะลุมบอนฟันแทงพลพม่าล้มตายเป็นอันมาก พม่าต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนีกลับไปเมืองเชียงใหม่ รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีก พระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปต่อรบ แต่กลางทางยังไม่มาถึงเมือง เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย ได้รบกับพม่าเป็นสามารถ และพระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหัก จึงลือชื่อปรากฏเรียกว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” แต่นั้นมา ตอนที่พระยาพิชัยคุมพลทหารออกไล่ฟันแทงพม่านั้น เนื่องจากกำลังชุลมุนฟันแทงกันอยู่ เท้าพระยาพิชัยเหยียบดินลื่นเซจะล้มจึงเอาดาบยันดินไว้เพื่อมิให้ล้ม ดาบจึงหักไป 1 เล่ม พม่าเห็นพระยาพิชัยเสียเชิงเช่นนั้น จึงกลับหน้าปราดเข้ามาจะฟัน หมื่นหาญณรงค์นายทหารคู่ชีพของพระยาพิชัย ก็ทะลึ่งเข้ารับพม่าผู้นั้นมิทันทำร้ายพระยาพิชัยได้ พม่าผู้นั้นเสียท่าหมื่นหาญณรงค์ฟันตาย ก็พอกระสุนปืนพม่ายิงมาถูกหมื่นหาญณรงค์ตรงอกทะลุหลัง ล้มพับลงขาดใจตายในขณะนั้น พระยาพิชัยเห็นหมื่นหาญณรงค์ถูกระสุนปืนข้าศึกตายดังนั้นก็ตกใจอาลัยหมื่นหาญณรงค์ผู้เพื่อนยากยิ่งนัก เลยบันดาลโทษะเข้าไล่ตลุมบอนฟันแทงพม่ามิได้คิดแก่ชีวิต พม่าต้านทานไม่ไหวก็แตกพ่ายไป\\n พระยาพิชัยดาบหักได้ร่วมรบกับพม่าอีกหลายครั้ง จนกระทั่งสิ้นแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานคร โปรดเกล้าให้เสนาบดีเรียกตัวพระยาพิชัยดาบหักลงไปถามว่า จะยอมอยู่ทำราชการต่อไปหรือไม่ ถ้ายอมอยู่จะเลี้ยงเพราะหาความผิดมิได้ พระยาพิชัยดาบหักตรองเห็นว่าขืออยู่ไปคงได้รับภัยมิวันใดก็วันหนึ่ง เพราะตัวท่านเป็นข้าหลวงเดิมอันสนิทของพระเจ้าตากย่อมเป็นที่ระแวงแก่ท่านผู้จะเป็นประมุขแผ่นดินต่อไป ทั้งประกอบด้วยความเศร้าโศกอาลัยในพระเจ้ากรุงธนบุรีเข้ากลัดกลุ้มในหทัย สิ้นความอาลัยในชีวิตของตน จึงตอบไม่ยอมอยู่จะขอตายตามเสด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขอฝากแต่บุตรชายให้ได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบสกุลต่อไปภายหน้า ฉะนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประหารชีวิตเสีย เมื่อพระยาพิชัยดาบหักสิ้นอายุได้ 41ปี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีมีท้องตราถึงผู้ครองเมืองพิชัยใหม่ให้รับบุตรชายพระยาพิชัยดาบหักเข้าเป็นข้าราชการต่อไปตามควรแก่ความสามารถ ฉะนี้บุตรหลายพระยาพิชัยดาบหักจึงเป็นข้าราชการลำดับลงมาจนทุกวันนี้ และในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สืบตระกูลได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “วิชัยขัทคะ” นามนี้ถ้าแปลอนุโลมตามความเข้าใจ คือ ดาบวิเศษของพระยาพิชัยดาบหักนั่นเอง