ร้านอ้น โลตัส Aon Lotus 
กลับหน้าหลักเว็ปพระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์
ยินดีต้อนรับท่านสมาชิกที่ชอบและหลงใหลในศีลปะของพระเครื่องอันล้ำค่าถือเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาซึ่งดำรงอยู่ต่อไป @ อ้นโลตัส อุตรดิตถ์ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยจากใจจริงครับ! และขอขอบคุณทุกๆท่านที่มาอุดหนุน และยังรับเช่า-ให้เช่า(พระเครื่องสายอุตรดิตถ์)ในราคาประทับใจ รับประกันความแท้ตามมาตราฐานสากลยอมรับ อุ่นใจที่ท่านได้ใช้ของดีของแท้ครับ ขอขอบคุณครับ! เงื่อนไขการรับประกัน 1. รับประกันพระแท้ตลอดชีพ? 2.รับประกันความพอใจเพียง 3 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับพระ (หากเก๊ยินดีคืนเต็มจำนวนไม่หักเปอร์เซ็นต์ และพระต้องคงสภาพเดิมด้วย ครับ) **กลั่นกรอง เน้นสวย รับประกันพระแท้ทุกองค์ ราคามาตราฐาน เช่าแล้วสบายใจ**
 หน้าร้านค้าอ้น โลตัส Aon Lotus  
ชื่อพระเครื่อง : พระบูชาสิงห์1 ขนาดหน้าตัก 6 นิ้ว
ประเภทพระเครื่อง : 09.พระบูชา
ราคา : โทรถาม
สถานะ :
เปิดให้เช่าวันที่ : 09 มี.ค. 61 - 19:22:42
เบอร์โทรติดต่อ : 0856030079
รายละเอียดพระเครื่อง : กล่าวเล่าท้าวความว่าในอดีต ราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละอีกด้วย “ปาละ” นั้น เป็นชื่อราชวงศ์อินเดียที่เคยครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ได้แก่แคว้นพิหารและเบงกอล ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17 และเป็นราชวงศ์ที่อุปถัมภ์ “พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายตันตระ” ซึ่งนิยมการใช้เวทมนต์คาถาเป็นอย่างมาก มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และได้สร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพและมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง อันเป็นพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่เมืองเชียงแสน และในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนก็อาจจะเป็นเมืองที่สำคัญจึงได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า “พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย การพิจารณา “พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1” ที่นิยมนอกเหนือจากการสังเกตชายสังฆาฏิก็คือ การซ้อนของพระเพลาต้องเป็นชนิดขัดเพชร พระบาทหงายขึ้นทั้งสองข้างและมีการเล่นนิ้วพระหัตถ์ (กระดกขึ้นลงอย่างเป็นธรรมชาติ) และที่สำคัญก็คือ ถ้าเป็นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 รุ่นแรกๆ ฐานส่วนมากมักจะเป็นฐานเขียง ก่อนที่จะคลี่คลายมาเป็นฐานบัวหรือฐานเทพประจำนพเคราะห์หรือนักษัตร และการเทค่อนข้างหนาเป็นพิเศษ ยิ่งถ้า “ผิวไม่ใช่พระขัด” นั้น หาดูได้ยากมากๆ เพราะถือว่าเป็นศิลปะสุดยอดในสกุลช่างเชียงแสนทีเดียว