ร้านพุทธานุภาพ พระเครื่อง 
กลับหน้าหลักเว็ปพระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์
 หน้าร้านค้าพุทธานุภาพ พระเครื่อง  
ชื่อพระเครื่อง : พระร่วงนั่ง เนื้อชินสนิมแดง กรุวัดหน้าพระธาตุ ยอดพระมหาอุด คงกะพัน และโชคลาภ ของเมืองพิชัย พร้อมประว
ประเภทพระเครื่อง : 25.พระจังหวัดอุตรดิตถ์
ราคา : โชว์เพื่อการศึกษาครับ
สถานะ :
เปิดให้เช่าวันที่ : 09 ส.ค. 56 - 10:44:29
เบอร์โทรติดต่อ : 081-931-0080
รายละเอียดพระเครื่อง : พระร่วงนั่ง เนื้อชินสนิมแดง กรุวัดหน้าพระธาตุ ยอดพระมหาอุด คงกะพัน และโชคลาภ ของเมืองพิชัย พร้อมประวัติ เพื่อการศึกษาครับ ข้อมูล ข้อความทั้งหมดนี้ ผมเรียบเรียงมาจาก หลายๆที่นำมารวมกัน ผมเคย ลง ใน Web -U ปีที่แล้ว ก็เลยถือโอกาส นำมาลง ใน เวป พระบ้านเรา บ้าง เชิญ ชม ครับ จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อเมืองพิชัยเป็นเมืองหน้าด่านที่เก่าแก่มาตั้งแต่ ก่อนกรุงสุโขทัย มีวัดเก่าแก่ ประจำเมือง มีชื่อว่า วัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน วัดหน้าพระธาตุ มีสถูปเก่าแก่ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นส่วนแห่งพระสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสแก่พระอานนท์ เมื่อใกล้ปรินิพพานให้ประดิษฐานในพระสถูปท่ามกลางชุมชนอันมีมาแต่ทิศทั้ง4 เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งโทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งถวายกษัตริย์และพราหมณ์ 8 นคร นำไปก่อพระสถูปบรรจุไว้ในนครต่างๆ เป็นครั้งแรก จนถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้รวบรวมแจกจ่ายไปยังนานาประเทศนอกชมพูทวีป ที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง ณ เมืองพิชัย ด้วย จะขอกล่าวเฉพาะที่มาสถิต ณ เมืองพิชัยนี้ โดยพระยาโคตรบองเทวราช นำมาก่อสร้างพระสถูป ประดิษฐานไว้ในเมือง ที่เจ้าไวยักษาราชโอรสสร้างขึ้น แล้ว สร้างพระปฏิมากรองค์ใหญ่หน้าตัก 5 เมตร ไว้เบื้องหน้าพระสถูป มหาชนชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อโต เมื่อ พ.ศ.1470 ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต และพระสถูปนั้นมีชื่อว่า \"วัดหน้าพระธาตุ\" ตั้งอยู่ในกำแพง เมืองพิชัย เป็นที่เคารพกราบไหว้ของบรรพบุรุษมหาชนมานานนับพันปี และที่เมืองพิชัย แห่งนี้ ตอนยุคปลายกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นกำเนิดของยอดทหารเสือขุนศึกคู่พระราชหฤทัย ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ยอดวีรบุรุษท่านนั้นคือท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ และจงรักภักดี ต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่ง กรุงธนบุรี ผู้ไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย ผู้เก่งกล้าสามารถทั้ง ชั้นเชิงแม่ไม้มวยไทย และ ชั้นเชิงเพลงดาบ ไร้ผู้ต่อกร คือ นายทองดีฟันขาว และ นายจ้อย หรือ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก อดีตเด็กวัดมหาธาตุ และ หน้าพระธาตุแห่งนี้ ที่กลายมาเป็น ครูมวย ครูดาบสองมือ และเป็นยอดขุนศึก คู่ราชบัลลังก์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ผู้ที่สู้รบกับพม่าผู้รุกราน จนดาบ หักคามือ อนุสาวรีย์ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ใน ชุดนักรบสวมหมวกแบบหน่วยทะลวงฟันในสมัยยุคปลายกรุงศรีอยุธยา มือถือดาบสองข้างมัดด้วยผ้ากันดาบหลุดมือ เล่มหนึ่งปลายหัก นี่คือ อนุสาวรีย์ ของยอดวีรบุรุษผู้กล้า เป็นการเตือนและปลูกจิตสำนึกของลูกหลานชาวไทยภายหลังว่า แผ่นดินที่ข้าเกิดนี้ คือถิ่นกำเนิด ของยอดขุนศึก มหาวีรบุรุษผู้เลื่องลือ ระบือนาม ในยามประเทศชาติเสียเอกราช บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้กรำศึก ด้วยดาบสองมือ กอบกู้เอกราชของชาติไทย จากพม่าข้าศึก และปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย ให้ลูกหลานชาวไทยได้มีที่ซุกหัวนอนจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งท่านมีบุญคุณแก่ประเทศชาติ ล้นเหลืออย่างใหญ่หลวง หาที่เปรียบเทียบมิได้ อนุชนคนรุ่นหลังควรระลึกถึงมหาบุญคุณอันล้นพ้นของท่าน ที่ได้สร้าง บุญคุณแก่ประเทศชาติไทยของเรา จนถึงปัจจุบันนี้ วัดหน้าพระธาตุ เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองพิชัย เก่ามาแต่โบราณ มีโบราณสถานคือ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและโบราณวัตถุ คือหลวงพ่อโตวัดหน้าพระธาตุ อันเป็นของคู่เมืองพิชัยสมัยโบราณ แม้จะรกร้างไปพักหนึ่งก่อนจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ และวิหารหลวงพ่อโต นักยิงนก หากยิงนกที่เกาะกิ่งไม้ แล้วปากกระบอกหันมาทางเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุละก็เป็นยิงไม่ออก บางคนซวยมาก ปืนแตกหน้าแหก บาดเจ็บก็มี เป็นที่เล่าลือกันมากว่า เป็นเพราะอาถรรพณ์ความศักดิ์สิทธ์ ที่เข้มขลัง ของพระบรมสารีริกธาตุ และกรุพระในพระเจดีย์ พ.ศ. 2509 มีการลักลอบขุดเจาะองค์เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่บังเอิญชาวบ้านผ่านมาเห็นจึงไปเรียกพระเณรย่องมาดูจำได้ว่า คนที่บงการคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจใน อ. เมือง จึงแจ้งความและมีการสอบสวนแต่ผลสอบสวนยังไม่ทันจะประกาศ เจ้าหน้าที่ตำรวจนายนั้นก็วิสามัญตัวเองกะโหลกเปิดด้วยปืนประจำตัวยิงกรอกปากทะลุเพดานตายอนาถ หลังจากเรื่องเงียบไปได้ประมาณสี่ห้าปีก็มีนักขุดกรุมืออาชีพจากกำแพงเพชร ข้ามถิ่นมาทำการลักลอบขุด แต่ไปไม่รอด มีคนมาเห็นเลยไปแจ้งตำรวจลากคอได้ทั้งแก๊ง ทางวัดจึงประชุมคณะกรรมการและขอความร่วมมือจากศิลปากรเขต และนายอำเภอพิชัย ตกลงกันว่าจะทำการขุดกรุอย่างเป็นทางการ การขุดค้นดำเนินไปตามหลักวิชาการ โดยพบรุ้งผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ตอนบนของเจดีย์ โดยบรรจุไว้ในผอบทองคำ รายล้อมช่างทองสกุลสุโขทัย พระบรมสาริรกธาตุ กับพระเครื่องเนื้อชินเงิน และพระบูชาทองคำ จำนวนหนึ่งออกมาจากพระเจดีย์ โยไม่มีมาตรการที่จะคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัย และไม่ถูกต้อง ตามพุทธประสงค์มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเกิดขึ้น จำเป็นด้วยเหตุใดไม่มีใครทราบเจ้าอาวาสที่ครองวัดและเก็บพระธาตุไว้ถูกคนร้ายลอบทำร้ายมรณภาพอย่างน่าอนาถ เมื่อ ต้นปี 2514 เพราะว่าคนร้ายไม่อาจแตะต้องผอบทองที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะเจ้าอาวาสเก็บไว้อย่างปลอดภัยทางเจ้าหน้าที่ศิลปากร และผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มาเจรจาขอผอบไปตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองอุตรดิตถ์ แต่ทางคณะกรรมการวัดรักษาการเจ้าอาวาสคัดค้าน เพราะวัตถุประสงค์เดิมของท่านเจ้าอาวาสที่มรณะภาพ คือ ให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปใหม่ โดยจะหาทุนมาสร้างเอง ทุนมาจากไหน ก็มาจากพระกรุที่ค้นพบในกรุด้านล่างของเจดีย์ อันประกอบด้วยพระทองคำแบบต่างๆพระทองคำนั้น กรมศิลปากร นำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานถาวรในเมืองอุตรดิตถ์ ส่วนพระเครื่องที่พบทางวัดได้มอบให้ผู้บริจาคเงินสบทบสร้างเจดีย์ รายละ 10,000 บาท ราคานี้สมัยนั้นมิใช่น้อยๆ ได้เงินมาพอที่จะสร้าง จนสร้างพระเจดีย์ใหม่ จึงได้ดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จ และนำผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเมล็ดข้าวสารหักกลับเข้าไปใหม่ตรงตำแหน่งเดิม สำหรับพระเครื่องที่พบในเจดีย์วัดหน้าพระธาตุมีศิลปะเป็นแบบสุโขทัยเป็นเนื้อชิน ทั้งหมด มีพระร่วงนั่งและซุ้มคล้ายซุ้มนครโกษา ชาวบ้าน และตำรวจ มีการนำพระตัวอย่างของกรุนี้ ไปทดลองยิง ตั้งแต่ออกจากกรุใหม่ๆปรากฏว่า ปืนไม่ลั่น กระสุนด้าน ทั้งหมด จึงเป็นที่เล่าลือกล่าวขานกันมาก พระชุดนี้ ผู้ที่ทำบุญไปต่างนำไปติดตัว มีอานุภาพแทบครบทุกด้าน บางรายถูกหวย ได้เงินค่าเช่าคืนก็มี บางคนก็รถคว่ำพังยับแต่ตัวเองไม่มีรอยแมวข่วนเป็นที่อัศจรรย์ใจ พระชุดนี้มีน้อยและกระจายอยู่ในหมู่ชาวพิชัย นอกถิ่นมีน้อยอยู่บ้างแต่ก็ไม่มาก มีไว้ก็ไม่ให้เช่า เพราะทำบุญองค์ละถึง 10,000 บาท ตอนนั้น ราคานี้สมัยนั้นมิใช่น้อยๆ พระชิน คล้ายๆกันองค์ละไม่กี่ร้อยบาท มีเรื่องประหลาดที่ทางวัดได้จัดพิมพ์ไว้ในหนังสือประวัติวัดตอนหนึ่งว่าดังนี้ เดิมวัดนี้ติดอยู่ติดริมแม่น้ำน่าน กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังเข้ามาอยู่เรื่อยๆ จนวันหนึ่งก็ใกล้พระเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นกระแสน้ำกลับเปลี่ยนทิศทาง การกัดเซาะเหมือนมีกำแพงมากั้นขวางหรือมีพลังมาดันกระแสน้ำเอาไว้ ทำให้บริเวณนั้นเกิดมีดินงอกทดแทน และกลายเป็นที่ดอนมาในที่สุด ร่อยรอยน้ำกัดเซาะนี้ยังเป็นรอยเห็นตามแนวเดิมของพระเจดีย์ ก่อนที่จะบูรณะใหม่ บ้างก็ว่าเทพยดาที่ดูแลรักษาพระบรมสารีริกธาตุและเทพยดาที่ดูแลรักษาองค์หลวงพ่อโต วัดหน้าพระธาตุ ช่วยผลักกระแสน้ำให้เปลี่ยนทิศทาง เพราะไม่ต้องการให้พระเจดีย์ และวิหารพังลงไปในแม่น้ำ สำหรับตัวเมือง อุตรดิตถ์ปัจจุบันเรียกว่าเมืองพิชัยใหม่ ซึ่งย้ายมาจากเมืองพิชัยเดิมในสมัยพระศรีสุริยะราชาวรานุวัติเป็นสมุหเทศาภิบาลเมืองพิชัย ในรัชสมัยสมเด็จพระปิยะมหาราช ได้ทรงพระราชทานแต่งตั้งชื่อใหม่ว่า เมือง อุตรดิตถ์ ซึ่งแปลว่า ท่าน้ำแห่งเมืองเหนือ เมืองพิชัยเก่าจึงเหลือไว้แต่เพียงตำนานของยอดขุนศึกวีระบุรุษ ผู้กล้ากรำศึกจนดาบหักคามือ อนุสาวรีย์ของท่าน สร้างที่เมืองพิชัย เป็นปูนปั้นก่อน ต่อมาสร้างด้วยโลหะผสม ออกแบบโดยกรมศิลปากร พ.ศ.2313 ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า สมัยเมื่อหลวงพ่อโตกรำแดดกรำฝน อยู่ท่ามกลางป่าหญ้าแฝกหญ้าแห้ง เกิดไฟใหม่ป่าลามมา แต่ปรากฏว่าไฟกลับลามรอบองค์หลวงพ่อโต และเจดีย์ห่างออกไปนับ 10 เมตรเรียกว่า สรรพสิ่งโดยรอบไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบไม้ดำเกรียมหมด แต่ องค์หลวงพ่อโตไม่มีแม้แต่เขม่าไฟเป็นอัศจรรย์ มีคนว่าเห็นมีชีปะขาวออกมาโบกผ้าไล่เปลวไฟไปรอบๆ องค์หลวงพ่อโต องค์หลวงพ่อโต ศักดิ์สิทธิ์มาก ขอพรได้ดังประสงค์แต่ต้อง แต่ต้องซื่อสัตย์ สุจริต และสิ่งต้องห้ามคือ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่สัจจริงแล้ว ห้ามสาบาน กับองค์หลวงพ่อโต วัดหน้าพระธาตุ เมืองพิชัยอย่างเด็ดขาด ถ้าไม่ใช่สิ่งที่สัจจริงแล้ว จะเป็นจริงดังคำสาบาน ชึ่งมีประวัติมาแล้ว กับนักร้องลูกทุ่งเสียงเย็นชื่อดัง ผมไม่ขอกล่าวนามกับท่านนักร้องลูกทุ่งเสียงเย็นชื่อดัง ผู้ล่วงลับผู้นี้ แต่บอกว่า ท่านนักร้องผู้นี้ ผู้ร้องเพลง น้ำท่วม ที่โด่งดัง เมื่อสมัย 40 กว่าปี ที่มาแสดงงานประจำปีที่วัด หน้าพระธาตุ ในงานนมัสการ หลวงพ่อโต เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2515 หลังจากจบการแสดง ดนตรีลูกทุ่ง ท่านนักร้องผู้นี้ เดินทางกลับกรุงเทพฯ เพื่อจะไปแสดงต่อ ที่เอกมัย ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในเวลา ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนพหลโยธิน ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อจะไปแสดงต่อ ที่เอกมัย ก่อน เป็นข่าวดังใหญ่โตทั้งในหนังสือพิมพ์และวิทยุ มาแล้ว ทางวัดได้บันทึกเรื่องราวต่างไว้กันสูญหาย ข้าพเจ้า ไม่มีเจตนาจะลบหลู่ หรือ พาดพิง ผู้ล่วงลับจึงขอกราบขออภัยกับ ผู้ล่วงลับ มาณ.ที่นี้ด้วย พระกรุนี้แม้ไม่แพร่หลายแต่ก็น่า สนใจมิใช่น้อย เป็นพุทธลักษณะ เป็นพระร่วงนั่ง มีเนื้อชินเงิน ชินตะกั่วสนิมแดง บางองค์จะเป็นสนิมแดงใยแมงมุม ทำให้ดูง่ายขึ้น พระเพลา พระเกษ และพระวรกาย จะเอนอียงไปด้านขวาขององค์พระ มีลักษณะเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนพระกรุอื่นๆ และมีพระร่วงนั่งหลังลิ่ม เหมือน กรุ สุโขทัยด้วย สำหรับองค์นี้ พระเกษ ติดไม่เต็มมาตั้งแต่อยู่ในกรุ มีหน้าตาชัดเจน สนิมแดง ด้านซ้ายคือพระกรขององค์พระ มีรอยเนื้อระเบิดออกมา ตั้งแต่อยู่ในกรุ ทำให้ ดูง่ายยิ่งขึ้น น่าเสียดายเพราะพระกรุนี้ขึ้นมาน้อยมาก จึงไม่ค่อยมีปรากฏในสนามมากนัก ซึ่งบางท่านก็ไม่รู้จัก ฝากให้ชม ออกความคิดเห็น และวิจารณ์ กันได้เต็มที่ครับ ข้อมูลต่างๆอ้างอิง นำมาจาก สารานุกรมพระเครื่อง และประวัติวัดหน้าพระธาตุ ครับ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อปูน ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในวิหารวัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับการเคารพนับถือศรัทธาจากชาวเมืองพิชัย ในฐานะพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิชัย เดิมทีมีตำนานเล่าขานกันมาว่าสร้างโดย พระยาโคตรบอง เมื่อปี 1470 หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในวิหารแบบปราสาทจัตุรมุข มีเนื้อที่ 99 ตารางวา พระเจดีย์เป็นยอด 5 องค์ ความสูง 49 เมตร นอกจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐาน \"พระบรมสารีริกธาตุ\" และ รอยพระพุทธบาทจำลอง พระบรมสารีริกธาตุเป็นส่วนแห่งพระสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสแก่พระอานนท์เมื่อใกล้ปรินิพพาน ให้ประดิษฐานในพระสถูปท่ามกลางชุมชนอันมีมาแต่ทิศทั้ง 4 เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งโทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งถวายกษัตริย์และพราหมณ์ 8 นคร นำไปก่อพระสถูปบรรจุไว้ในนครต่างๆ เป็นครั้งแรก จนถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รวบรวมแจกจ่ายไปยังนานาประเทศนอกชมพูทวีปที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง หน้าพระธาตุเดิมตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิชัย เป็นที่เคารพกราบไหว้ของมหาชนมานับพันปี ครั้งหนึ่งวิหารหลวงพ่อโตกับมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลองเกิดผุพังจนใช้การไม่ได้ จำเป็นต้องสร้างใหม่ โดยรวมเอาปูชนียวัตถุทั้ง 3 ไว้ในอาคารเดียวกัน เพื่อทุ่นเวลาทุ่นค่าก่อสร้างและบำรุงรักษา ทั้งนี้ เพื่อได้สิ่งก่อสร้างอันสวยงามสง่าควรแก่การเลื่อมใส จึงได้ให้ช่างคือ อาจารย์จิตร์ บัวบุศย์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ออกแบบเป็นปราสาทจัตุรมุข มีพระเจดีย์เป็นยอด 5 องค์ ความสูง 49 เมตร กว้าง 9 เมตร ยาว 26 เมตร ตัดกันเป็นรูปกาชาด มีเนื้อที่รวม 99 ตารางวา มีระเบียงกำแพงแก้ว และชานโดยรอบประกอบด้วยสระน้ำ 4 สระ รวมเป็นเนื้อที่ก่อสร้าง 600 ตารางวา หรือ 1 ไร่ 2 งาน จากนั้น คุณมนัส ปิติวงษ์ อธิบดีกรมชลประทานในขณะนั้น มอบให้ คุณเอกชัย ยอดยิ่ง ทำรายละเอียดแบบแปลนเป็นการดำเนินงานด้านธุรการ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปี 2524 จึงลงมือรื้อวิหารหลวงพ่อโตแล้วเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาโดยลำดับในนามคณะพระสังฆาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยพระราชประสิทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และอุปถัมภ์ของเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จนถึงปี 2531 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า \"ปราสาทพระนวมะราชบพิตร\" พร้อมด้วยตราสัญลักษณ์มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ให้มาสถิตเป็นนิมิตหมายนำศรัทธามหาชนในการเสด็จพระราชกุศลร่วมพระบารมี เป็นที่เชิดหน้าชูตาเป็นสง่าราศีของพวกเราชาวเมืองพิชัย จนกระทั่งการก่อสร้างได้ดำเนินมาโดยลำดับ จนถึงปี 2546-2547 ขณะนี้ได้สร้างสิ่งดีมีค่าขึ้นหลายรายการ เช่น ปูพื้นด้วยหินอ่อน ในเนื้อที่ 99 ตารางวา ปูพื้นด้วยหินแกรนิตที่ระเบียงรอบนอกทั้งหมดจนถึงบันได บานประตูเป็นไม้ตะเคียนทองจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ขนาดหนา 4 นิ้ว กว้าง 48 นิ้ว ยาว 5 เมตร 25 เซนติเมตร จำนวน 8 แผ่น แกะสลักด้วยฝีมือช่างผู้ชำนาญจากเมืองแพร่ จารึกประวัติการก่อสร้างไว้ด้วย หน้าต่างเป็นลวดลายอัลลอย ซุ้มฐานด้านนอกประดิษฐานเทพพระเคราะห์ และพระพุทธรูปปฏิมากรปางต่างๆ เป็นพระประจำวันเกิด ส่วนในปราสาทจำลองผอบทองคำที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขยายให้ใหญ่พอเหมาะสมกับเนื้อที่มุขปราสาท ด้านทิศเหนือเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่มุขด้านทิศใต้ให้องค์หลวงพ่อโตอยู่ที่เดิมมุขตะวันตก สุดท้ายสร้างพญานาคประจำราวบันไดทั้ง 4 ทิศ 8 ตัว สำหรับพระพุทธรูปหลวงพ่อโตองค์นี้ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างในปี 1470 โดยผู้สร้างคือ \"พระยาโคตรบอง\" ปัจจุบันองค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารปราสาทจัตุรมุข 5 ยอด ความสูง 43 เมตร ที่สร้างขึ้นใหม่มีเนื้อที่ภายใน 99 ตารางวา มีพุทธศาสนิก ชนและประชาชนทั่วไปเดินทางมากราบไหว้ขอพรมิได้ขาด ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จดั่งใจปรารถนา